22,877 Works
Anomaly detection on time series from furthest neighbor window subseries
Anomaly detection in time series is classified into three types which are point anomaly, contextual anomaly, and collective anomaly. This work proposes a novel method called the Furthest Neighbor Window Subseries (FNWS) for detecting contextual anomalies which normally appear in a time series dataset. Three quartiles representing a local distribution are computed and relocated by subtracting the first data point in the window subseries. A vector of three quartiles —the lower quartile, the median and...
Empirical study on efficiency of Thailand stock market based on confidence interval of hurst index using DFA
We are interested in investigating the efficiency of Thailand stock markets (SET and MAI markets) by using the Hurst index based on the Detrended Fluctuation Analysis (DFA). This study is an extension of the work of Sukpitak and Hengpunya (2016) by using Monte Carlo simulation and statistical analysis to construct a confidence interval of Hurst index for the efficient market based on the assumption that the sample of Brownian motion represents assets prices in efficient...
Median-difference window subseries score for contextual anomaly on time series
Anomaly detection on time series is one of the exciting topics in data mining. The aim is to find a data point which is different from the majority, called an anomaly. In this thesis, a novel anomaly score called Median-Difference Window subseries Score (MDWS) is proposed with its algorithm together with the parameter of the recommended window length for detecting the contextual anomalies on time series data. It is computed as the subtraction of the...
Highly dispersed graphene oxide-silver nanoparticle composites in organic solvents
An innovative phase transfer process of anisotropic silver nanoparticles (AgNPs) from water to a wide range of organic solvents such as toluene, n-butanol, iso-butyl acetate, ethyl acetate, acetonitrile and ethylene glycol was described. In the developed process, AgNPs were transferred to the organic solvents by using the graphene oxide (GO) sheets as the carrier. The transferring process was utilized by two straightforward steps. Firstly, AgNPs were synthesized using N-N' dimethylformamide (DMF) as a reducing agent...
Effects of CuIn1-xGaxSe2 thin film surface roughness in chemical bath deposition of CdS thin films
Typical CuIn1-xGaxSe2 (CIGS) thin film solar cells on soda-lime glass (SLG) substrate consist of six different thin film layers; SLG/Mo/CIGS/CdS/i-ZnO/ZnO(Al)/Al-grids. In this work, the interface of CIGS/CdS film was modified by altering CIGS surface with various chemical solutions such as aqua regia, potassium hydroxide and alcoholic potassium hydroxide. The modified CIGS surface was investigated by FESEM and AFM in terms of morphology and RMS roughness, respectively. It was found that aqua regia could effectively alter...
Selective oxidation of saturated hydrocarbons catalyzed by oxovanadium(iv) complexes
The development of the selective oxidation of saturated hydrocarbons catalyzed by oxovanadium(IV) complexes was disclosed. Two types of ligands including Schiff’s base and picolinic acid could be prepared. The well-characterized oxovanadium(IV) complexes were applied under two diverse oxidizing agents: O2 and peroxide. The oxidation catalyzed by oxovanadium(IV) Schiff’s base complexes in zinc-pyridine-acetic acid system under O2 was thoroughly investigated for the effects of nine Schiff’s base complexes, amount and type of zinc, acid and solvent....
Molecular characterization of isoamylases from cassava tuber Manihot esculenta Crantz ‘KU50’
Starch debranching enzyme or isoamylase (EC.3.2.1.68), an important enzyme in starch metabolism, catalyses the hydrolysis of α-1,6 glycosidic linkages of amylopectin. In this work, cassava isoamylase genes were isolated from cDNA generated from total RNA from tubers of Manihot esculanta Crantz cultivar KU50 by RT-PCR and analysed by agarose gel electrophoresis. Three putative isoamylase genes, MeISA1, MeISA2 and MeISA3 were identified and amplified excluding the fragments encoding their transit peptides. Full length of MeISA3 gene...
ENHANCED PRODUCTION OF L-AMINOADIPIC ACID IN Escherichia coli BY METABOLIC ENGINEERING OF LYSINE AND ADIPIC ACID BIOSYNTHESIS
L- Aminoadipic acid (L- AAA), a non- protein structure amino acid, is an important intermediate for many medicinal compounds such as antirheumatic drug, psoriasis and carcinostatic drug as well as a precursor in the production of β-lactam antibiotics. L-Lysine is known as one of precursors for L-AAA synthesis in microorganisms. To increase L-AAA production in Escherichia coli, releasing of allosteric inhibition of the enzymes in L-lysine biosynthesis pathway should be performed. pD-Y*D*LP containing V339A mutated...
Combination of gold nanoparticles and lycorine for enhancing anti-inflammatory activity
Inflammation is a complex biological response of tissues to harmful stimuli, such as pathogens. NSAIDs are commonly used to reduce inflammatory activities; however, some types of NSAIDs have side-effects on patients. Importantly, in this study attention the naturally occurring substances from plant to development of new drugs to treat inflammatory activities. Recently, Lycorine is one of the major alkaloids that have been isolated from the Amaryllidaceae plant has been reportedly possessed the anti-inflammatory activity. It...
การขับร้องลำตัดพ่อผูกศรีราชา
งานวิจัยเรื่องการขับร้องลำตัดพ่อผูกศรีราชา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและกลวิธีการขับร้องลำตัดของคณะลำตัดพ่อผูก ศรีราชา ผลการศึกษาพบว่าคณะลำตัดพ่อผูกศรีราชา ก่อตั้งโดยนายผูก เอกพจน์ ใน พ.ศ.2486แม่ประพิมพ์ เอกพจน์ เป็นบุตรของพ่อผูก สืบบทลำตัดแบบเก่าและดั้งเดิมตามที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ ในการแสดงลำตัดนั้น ใช้รำมะนา 4 ลูก ฉิ่ง และ คนร้อง ซึ่งบทเพลงที่โดดเด่นที่พ่อผูกได้ประพันธ์ไว้คือ ลำตัด ก ไก่-ฮ นกฮูกจากการวิเคราะห์การขับร้องลำตัด ก ไก่ ถึง ฮ นกฮูก สามารถชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของผู้ประพันธ์ทางร้องและกลวิธีการร้อง โดยนางประพิมพ์ เอกพจน์ ได้รับการถ่ายทอดมาจากนายผูก เอกพจน์ ผู้เป็นบิดา พบว่า มีจำนวนทั้งหมด 3 ช่วง คือช่วงเกริ่นนำ ช่วงเนื้อเพลง และช่วงท้าย โดยในช่วงเกริ่นนำ ใช้จังหวะอิสระ เริ่มเข้าจังหวะในช่วงเนื้อเพลงและช่วงท้าย กลวิธีที่ใช้ในการขับร้องทำนองลำตัดใช้กลุ่มเสียงเดียว การใช้ทางเอื้อน 2 เสียงโดยใช้เสียง 2 พยางค์ ติดกัน และใช้เสียง 3 พยางค์ การตกแต่งทำนองด้วยเสียงเอยต้นประโยค การใช้ลมหายใจตั้งแต่ 7-8 ห้อง และ แบ่งเป็น 4 ห้อง การใช้ลมหายใจ 3 ห้อง การเน้นเสียงในห้องที่ 3 และ 4 ที่ใช้สระเสียงยาว
อำนาจของครูในการลงโทษนักเรียนและการใช้กำลังทางกายภาพในสถานศึกษา
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาเกี่ยวกับอำนาจของครูในการลงโทษนักเรียนและการใช้กำลังทางกายภาพต่อนักเรียนในสถานศึกษาในปัจจุบันของประเทศไทย รวมทั้งศึกษาแนวคิด รูปแบบและเนื้อหาอำนาจของครูในการลงโทษนักเรียนและการใช้กำลังทางกายภาพต่อนักเรียนในสถานศึกษาตามกฎหมายต่างประเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์และเสนอแนวทางในการกำหนดความรับผิดทางอาญาของครูที่เหมาะสมกับประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า ในอดีตศาลฎีกายอมรับจารีตประเพณีการลงโทษทางร่างกายของนักเรียนโดยถือเป็นเหตุที่ผู้กระทำมีอำนาจกระทำได้ โดยไม่มีความรับผิดทางอาญา แต่หลังจากที่มีการออกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ.2548 ที่ไม่ให้อำนาจครูในการลงโทษทางร่างกายของนักเรียนอีกต่อไป ก็ยังไม่ปรากฏคำพิพากษาศาลฎีกาว่ายอมรับอำนาจในการลงโทษของครูมากน้อยเพียงใด ทั้งยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างเกี่ยวกับความรับผิดทางอาญาของครูในการลงโทษทางร่างกายและจิตใจของนักเรียน ด้วยเหตุดังกล่าวทำให้กฎหมายของประเทศไทยยังขาดแนวทางความรับผิดทางอาญาที่ชัดเจน เมื่อศึกษากฎหมายของต่างประเทศพบว่า สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐอินเดีย ราชอาณาจักรสวีเดน และราชอาณาจักรเดนมาร์ก มีการบัญญัติความรับผิดของครูในการลงโทษนักเรียนในไว้ในกฎหมายอย่างชัดแจ้ง รวมทั้งยังกำหนดข้อยกเว้นความรับผิดทางอาญาของครูในการลงโทษนักเรียนไว้อย่างจำกัด ตลอดจนการให้อำนาจแก่ครูในการใช้กำลังทางกายภาพต่อนักเรียน ผู้เขียนวิทยานิพนธ์จึงเสนอให้ประเทศไทยมีการกำหนดความรับผิดของครูในการลงโทษนักเรียนไว้โดยเฉพาะ และกำหนดอำนาจแก่ครูในการใช้กำลังทางกายภาพต่อนักเรียนให้ครอบคลุมและชัดเจนให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการแก้ไขปัญหาการลงโทษนักเรียนที่รุนแรงในประเทศไทย
การออกแบบเมทริกซ์พาริตีเช็กสำหรับรหัสแอลดีพีซีแบบนอนไบนารี
การส่งผ่านข่าวสารดิจิทัลในระบบสื่อสารไร้สายมักได้รับผลกระทบจากสัญญาณรบกวนและสัญญาณแทรกสอดทำให้เกิดความผิดพลาดบิตขึ้น รหัสแก้ไขความผิดพลาดเป็นเทคนิคสำคัญที่ใช้แก้ปัญหาความผิดพลาดบิตดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในปัจจุบันรหัสรหัสพาริตีเช็กความหนาแน่นต่ำหรือที่เรียกโดยย่อว่ารหัสแอลดีพีซีได้รับความสนใจอย่างมากในการประยุกต์ใช้งานจริงในทางปฏิบัติ วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงรหัสแอลดีพีซีให้มีสมรรถนะในการแก้ไขความผิดพลาดได้ดีขึ้นโดย 2 แนวทางคือ แนวทางแรกเสนอการปรับปรุงสมรรถนะของรหัสแอลดีพีซีแบบไบนารีที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้นด้วยการแปลงรหัสดังกล่าวให้กลายเป็นรหัสนอนไบนารี โดยเน้นรหัสแอลดีพีซีที่มีน้ำหนักคอลัมน์เท่ากับสอง และแนวทางที่สองเป็นการพัฒนาวิธีการถอดรหัสขึ้นใหม่โดยให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นโดยพิจารณาทั้งค่าอัตราความผิดพลาดบิตและจำนวนรอบการวนซ้ำให้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ผลการทดสอบในส่วนแรกพบว่ารหัสนอนไบนารีที่เสนอขึ้นมีอัตราความผิดพลาดบิตที่ต่ำกว่ารหัสโพรโทกราฟขนาดเดียวกันที่องค์กรนาซาเลือกใช้อยู่ประมาณ 0.4 dB ผลการทดสอบในส่วนที่สองพบว่าการถอดรหัสที่เสนอขึ้นใหม่นี้ให้อัตราความผิดพลาดบิตที่ลดต่ำลงกว่าวิธีการแบบดั้งเดิมอย่างชัดเจน เมื่อทำการทดสอบกับรหัสแอลดีพีซีตามมาตรฐาน IEEE 802.11n ทั้ง 3 ขนาดคือ 648, 1296 และ 1944 บิต อีกทั้งจำนวนรอบการวนซ้ำลดลงมาก ซึ่งมีความหมายว่าการถอดรหัสแบบนี้นอกจากจะมีอัตราความผิดพลาดที่ต่ำลงกว่าเดิมแล้วการประมวลผลก็ลดลงด้วย
การวิเคราะห์โครงสร้างต้นทุนของการใช้ทางรถไฟระหว่างเมืองของประเทศไทย
รถไฟเป็นระบบการขนส่งที่ต้องการการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานอย่างมาก ทั้งในด้านการก่อสร้างและการซ่อมบำรุงรักษา การบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานให้เกิดประโยชน์เต็มประสิทธิภาพในอนาคต จำเป็นที่จะต้องทราบ ต้นทุนและปัจจัยที่ส่งกระทบต่อต้นทุนเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการใช้ประโยชน์ เช่น การอุดหนุนจากภาครัฐ การคิดค่าใช้ทางจากผู้ประกอบการเดินรถ ในกรณีที่มีการแยกส่วนการบริหารจัดการระหว่างโครงสร้างพื้นฐานกับล้อเลื่อน สำหรับการศึกษาของงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาต้นทุนของค่าก่อสร้าง และค่าซ่อมบำรุงรักษา จากเส้นทางเดินรถของการรถไฟ 5 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทาง ชุมทางหนองปลาดุก – ราชบุรี เส้นทาง ชุมทางบัวใหญ่ – ขอนแก่น เส้นทาง ธนบุรี – ชุมทางตลิ่งชัน เส้นทาง นครราชสีมา – ชุมทางบัวใหญ่ และ เส้นทาง ลาดกระบัง – แหลมฉบัง จากการศึกษาพบว่า ค่าซ่อมบำรุงระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วง 1.3 ถึง 1.7 ล้านบาทต่อปีต่อสถานี และค่าซ่อมบำรุงทางรถไฟมีค่าซ่อมบำรุงทางรถไฟเฉลี่ยต่อปี อยู่ในช่วง 280,000 ถึง 310,000 บาทต่อหนึ่งทางต่อกิโลเมตร โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อค่าซ่อมบำรุงทาง คือ ความหนาแน่นการเดินรถ และ ค่าคุณภาพทาง และเมื่อเปรียบเทียบการซ่อมบำรุงรักษาที่น้ำหนักบรรทุกเท่ากัน พบว่าค่าซ่อมบำรุงทางรถไฟเป็นครึ่งหนึ่งของค่าซ่อมบำรุงถนน
ผลของอัตราการไหลของอากาศและความยาวคลื่นแสงต่อการเติบโตและผลผลิตแคโรทีนอยด์ในจุลสาหร่าย Chlorococcum humicola ในถังปฏิกรณ์ชีวภาพเชิงแสง
งานวิจัยนี้ศึกษาผลของความยาวคลื่นแสงและอัตราการให้อากาศต่อการเติบโตและผลผลิตแคโรทีนอยด์ในจุลสาหร่ายสีเขียว Chlorococcum humicola ผลการเพาะเลี้ยงจุลสาหร่ายแบบกะในขวดแก้วดูแรนขนาด 1 ลิตร พบว่าแสงสีขาวที่ 5,000 ลักซ์ มีความเหมาะสมในการใช้เตรียมหัวเชื้อและเพาะเลี้ยงจุลสาหร่ายจนสิ้นสุดระยะการเติบโตแบบทวีคูณเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้แสงสีอื่น ๆ โดยมีน้ำหนักเซลล์แห้งที่ 601 มิลลิกรัมต่อลิตร และการใช้งานแสงสีขาวที่ความเข้มแสง 105 ลักซ์ ร่วมกับแสงสีน้ำเงินที่ควบคุมกำลังที่ 6 วัตต์ ในระยะการเติบโตคงที่ช่วยให้จุลสาหร่ายมีการสะสม แคโรทีนอยด์ได้เพิ่มขึ้นถึง 7.96 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักเซลล์แห้ง (4.67 มิลลิกรัมต่อลิตร) ซึ่งมากกว่าการใช้งานแสงสีขาวที่ความเข้มแสง 105 ลักซ์ ถึงร้อยละ 12 การทดลองต่อมาได้คัดเลือกถังปฏิกรณ์ชีวภาพเชิงแสงเพื่อใช้เพาะเลี้ยงจุลสาหร่าย โดยใช้ความสามารถในการฟุ้งกระจายของชีวมวล จุลสาหร่ายเป็นเกณฑ์ซึ่งพบว่าถังปฏิกรณ์ชีวภาพเชิงแสงแบบอากาศยกมีความเหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยง C. humicola มากกว่าถังปฏิกรณ์ชีวภาพเชิงแสงแบบคอลัมน์เติมอากาศในช่วงอัตราการให้อากาศระหว่าง 0.1 ถึง 1.25 vvm และการทดลองต่อมาพบว่าการควบคุมอัตราการให้อากาศที่ 0.8 vmm ในถังปฏิกรณ์ชีวภาพเชิงแสงแบบอากาศยกช่วยให้จุลสาหร่ายเติบโตและผลิต แคโรทีนอยด์ได้ดีที่สุด ข้อมูลที่ได้รับทั้งในส่วนของความยาวคลื่นแสงและอัตราการให้อากาศที่เหมาะสมได้ถูกนำมาทดสอบอีกครั้ง โดยเพาะเลี้ยงจุลสาหร่าย C. humicola ในถังปฏิกรณ์ชีวภาพแบบอากาศยก ผลการเพาะเลี้ยงพบว่าการให้แสงสีขาวที่ความเข้มแสง 5,000 ลักซ์ ในช่วงปรับตัวถึงช่วงทวีคูณ ตามด้วยแสงสีขาวความเข้มแสง 105 ลักซ์ ร่วมกับแสงสีน้ำเงินที่ควบคุมกำลังที่ 6 วัตต์ ในระยะเติบโตคงที่ ทำให้จุลสาหร่ายเติบโตซึ่งตรวจวัดในรูปน้ำหนักแห้งได้ถึง 880 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งมากกว่าผลการทดลองในขวดดูแรน ขณะที่มีปริมาณแคโรทีนอยด์เพิ่มขึ้นถึง 7.81 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักเซลล์แห้ง (6.87 มิลลิกรัมต่อลิตร) ซึ่งไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) จากความเข้มข้นของแคโรทีนอยด์ที่ได้รับจากการเพาะเลี้ยงในขวดดูแรน
อิทธิพลของสารเคลือบผิวอะคริลิคต่อการเสื่อมสภาพของวัสดุอุดรอยต่อโพลียูรีเทน
ในงานวิจัยนี้ทำการศึกษาเกี่ยวกับอิทธิพลของสารเคลือบผิวอะคริลิค ต่อการเสื่อมสภาพของวัสดุอุดรอยต่อโพลียูรีเทน โดยใช้เครื่องเร่งปฏิกิริยาจำลองสภาพอากาศกับวัสดุอุดรอยต่อโพลียูรีเทน เพื่อจำลองการเสื่อมสภาพด้วยความร้อน, รังสีอัลตราไวโอเลต, และความชื้น ตัวแปรในการทดลองนี้ ได้แก่ การเคลือบผิวอะคริลิค และเวลาที่ใช้ในการเสื่อมสภาพ ในทุกๆ 200 ชั่วโมงของการเร่งสภาพอากาศ จะมีการประเมินคุณสมบัติทางกายภาพและเชิงกลของวัสดุอุดรอยต่อโพลียูรีเทน ด้วยวิธีการทดสอบแบบไม่ทำลาย ได้แก่ การทดสอบด้วยสายตา, การทดสอบความแข็ง, และการทดสอบสีที่เปลี่ยนไป และการทดสอบแบบทำลาย ได้แก่ การทดสอบแรงดึง และการทดสอบแรงเฉือน เพื่อให้ทราบถึงการเสื่อมสภาพและพฤติกรรมการรับแรงของวัสดุอุดรอยต่อโพลียูรีเทนระหว่างวัสดุโพลียูรีเทนที่ผ่านการเคลือบด้วยสารเคลือบผิวและที่เปลี่ยนไปเนื่องจากสภาพอากาศภายนอก
วิธีการควบคุมการใช้งานสื่อกลางแบบประหยัดพลังงานสำหรับอินเทอร์เน็ตโพรโทคอลในเครือข่ายตัวรับรู้ไร้สาย
ในปัจุบันนี้เทคโนโลยีที่ถูกล่าวถึงอย่างมากได้แก่ อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things) หรือที่เรียกกันว่า ไอโอที (IoT) หลายๆระบบมักจะมีการเชื่อมโยงเข้ากับระบบอินเตอร์เน็ตผ่านทางระบบไอโอที เครื่อข่ายตัวรับรู้ไร้สาย (Wireless Sensor Networks) ก็เป็นอีกหนึ่งระบบ ที่ได้ถูกนำมาเชื่อมโยงโดยผ่านระบบไอโอที ซึ่งในการออกแบบครั้งแรกของระบบเครือข่ายตัวรับรู้ไร้สายได้มีการออกแบบการรับส่งข้อมูลเป็นลักษณะเฉพาะตัว เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพเรื่องการประหยัดพลังงานมากที่สุด เนื่องจากข้อมูลมีขนาดเล็ก แต่จากการเชื่อมโยงเข้าระบบไอโอที (IoT) จึงได้มีองค์กรต่างๆได้กำหนดมาตราฐานโพรโทคอลที่ใช้ในอินเตอร์เน็ตมาใช้ เพื่อเชื่อมโยงเครื่อข่ายตัวรับรู้ไร้สายเข้ากับระบบไอโอที ในงานวิจัยนี้ ได้นำเสนอ วิธีการควบคุมการใช้งานสื่อกลางแบบประหยัดพลังงานสำหรับอินเทอร์เน็ตโพรโทคอลในเครือข่ายตัวรับรู้ไร้สาย ที่ชื่อว่า CU-MAC ที่ออกแบบมาเพื่อใช้การเชื่อมต่อเครื่อข่ายตัวรับรู้ไร้สายเข้ากับระบบไอโอที ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจากผลการทดลองในงานวิจัยจะโพรโทคอลที่นำเสนอสามารถนำมาใช้กับระบบไอโอที ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สูง โดยสามารถรับส่งข้อมูลได้ถึง 98.7% เมือมีอัตราการส่งของข้อมูลทุกๆ 3 วินาที
รูปแบบและประสิทธิภาพของระบบตัวกรองชีวภาพไนทริฟิเคชันสำหรับการเลี้ยงสัตว์น้ำระบบน้ำหมุนเวียน
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพการบำบัดแอมโมเนียรวมในระบบเลี้ยงสัตว์น้ำแบบปิดด้วยตัวกรองชีวภาพชนิด BCN-012 ในรูปแบบถังปฏิกรณ์ชีวภาพไนทริฟิเคชันต่างกัน 3 ชนิด โดยแบ่งการทดลองเป็น 4 ช่วง การทดลองช่วงที่ 1 เป็นการเปรียบเทียบจลนพลศาสตร์ในการบำบัดแอมโมเนียรวมของตัวกรองชีวภาพที่ผ่านการบ่มเชื้อเป็นเวลา 3 และ 6 เดือน พบว่าตัวกรองชีวภาพที่ผ่านการบ่มเชื้อเป็นเวลา 3 เดือนมีอัตราการบำบัดแอมโมเนียรวมสูงสุด (Vmax) และค่าคงที่เมื่ออัตราการบำบัดแอมโมเนียรวมเป็นครึ่งหนึ่งของอัตราการบำบัดแอมโมเนียรวมสูงสุด (Ks) สูงกว่าตัวกรองชีวภาพที่ผ่านการบ่มเชื้อเป็นเวลา 6 เดือน โดยค่าอัตราการบำบัดแอมโมเนียรวมสูงสุด เท่ากับ 73.20 และ 53.92 มก.ไนโตรเจน/ตร.ม./วัน และค่าคงที่เมื่ออัตราการบำบัดแอมโมเนียรวมเป็นครึ่งหนึ่งของอัตราการบำบัดแอมโมเนียรวมสูงสุด เท่ากับ 6.47 และ 2.15 มก.ไนโตรเจน/ล. ตามลำดับ การทดลองช่วงที่ 2 เป็นการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการเดินระบบถังปฏิกรณ์ชีวภาพรูปแบบตัวกลางจมตัว ตัวกลางเคลื่อนที่ และระบบโปรยกรอง ในการบำบัดสารประกอบอนินทรีย์ไนโตรเจนจากน้ำเสียสังเคราะห์ที่ความเข้มข้นแอมโมเนียรวมเริ่มต้น 1, 2 และ 3 มก.ไนโตรเจน/ล. พบว่าระบบโปรยกรองมีประสิทธิภาพไนทริฟิเคชันดีที่สุด เท่ากับ 1.336, 1.913 และ 2.779 มก.ไนโตรเจน/ตร.ม./ชม. ในขณะที่ระบบตัวกลางจมตัวมีอัตราการบำบัดแอมโมเนียรวมต่ำที่สุด เท่ากับ 0.930, 0.640 และ 2.361 มก.ไนโตรเจน/ตร.ม./ชม. ตามลำดับ การทดลองช่วงที่ 3 เป็นการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของถังปฏิกรณ์ชีวภาพทั้ง 3 รูปแบบในการบำบัดสารอนินทรีย์ไนโตรเจนจากน้ำเสียจริงในระบบเลี้ยงปลานิล พบว่าทุกระบบมีความสามารถในการควบคุมปริมาณไนโตรเจนให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ โดยมีปริมาณแอมโมเนียรวมและไนไทรต์เฉลี่ยตลอดการทดลองใกล้เคียงกัน เท่ากับ 0.04±0.04 และ 0.04±0.03 มก.ไนโตรเจน/ล....
อุดมการณ์ความเป็น \"เด็ก\" ที่สะท้อนผ่านการเรียนการสอนการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล
, &
วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 30, 2, 31
แนวทางการจัดกิจกรรมจิตตศิลป์เพื่อสร้างประสบการณ์ทางสุนทรียะของผู้เรียนอายุ 16-18 ปี
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมจิตตศิลป์เพื่อสร้างประสบการณ์ทางสุนทรียะ ในด้านจุดประสงค์ของกิจกรรม กรอบเนื้อหาในการจัดกิจกรรม รายละเอียดของกิจกรรม กระบวนกรในการจัดกิจกรรม การประเมินผลกิจกรรมและแหล่งการเรียนรู้ด้วยตนเอง ของผู้เรียนอายุ 16-18 ปี เก็บข้อมูลโดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง อย่างน้อย 5 ปี จำนวน 12 คน ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมจิตตปัญญาศึกษาจำนวน 4 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมจิตตศิลป์ จำนวน 4 คนและผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนการสอนศิลปะในโรงเรียนทางเลือก จำนวน 4 คน เมื่อได้แนวทางในการจัดกิจกรรมแล้ว นำกิจกรรมไปทดสอบกับผู้เรียนอายุ 16-18 ปี จำนวน 14 คน ทั้งหมด 4 ครั้ง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และสมุดบันทึกภาพสะท้อนความคิด นำเสนอข้อมูลในรูปแบบตารางวิเคราะห์ความถี่ ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญพบว่า การจัดกิจกรรมจิตตศิลป์เพื่อสร้างประสบการณ์ทางสุนทรียะของผู้เรียนอายุ 16-18 ปี มีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์ภายในและประสบการณ์ภายนอก นำไปสู่การรับรู้ความงามทางศิลปะ และสามารถสะท้อนความคิดเกี่ยวกับตนเองและผลงานศิลปะ โดยการนำหลักภาวนา 4 และหลักการสร้างประสบการณ์ทางสุนทรียะผ่านการสร้างสรรค์และวิเคราะห์ผลงานศิลปะมาใช้ในการสร้างกรอบเนื้อหาในการจัดกิจกรรม เป็นกิจกรรมต่อเนื่อง ไม่ต่ำกว่า 7 ครั้ง และไม่เกิน 10 ครั้ง เริ่มจากกิจกรรมทำความรู้จักและสร้างบรรยากาศแห่งการไว้ใจกันภายในกลุ่มก่อน ตามด้วยกิจกรรมทบทวนตัวเอง กิจกรรมเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ในกลุ่ม และกิจกรรมทบทวนกระบวนการเรียนรู้ ตามลำดับ ใช้เวลาในการทำกิจกรรมไม่ต่ำกว่า 100 นาที และไม่เกิน 150 นาที มีจำนวนผู้เรียนไม่เกิน 15 คน ลักษณะของกระบวนกร...
การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์และสรุปองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการที่ได้จากการศึกษางานวิจัยด้านภาวะผู้นำทางวิชาการ 2) ศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร และ 3) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร สังเคราะห์และสรุปองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการที่ได้จากการศึกษางานวิจัยด้านภาวะผู้นำทางวิชาการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ และวิเคราะห์เนื้อหา ศึกษาระดับภาวะผู้นาทางวิชาการของผู้บริหาร โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถาม ผู้ให้ข้อมูล คือ 1) ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 181 คน และ 2) ครู จำนวน 362 คน วิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร โดยการจัดลำดับค่าเฉลี่ยจากน้อยไปมาก ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ผลการสังเคราะห์และสรุปองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการที่ได้จากการศึกษางานวิจัยด้านภาวะผู้นำทางวิชาการ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก 13 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ องค์ประกอบหลักที่ 1 การกำหนดพันธกิจของโรงเรียน มี 2 องค์ประกอบย่อย องค์ประกอบหลักที่ 2 การบริหารจัดการหลักสูตร มี 4 องค์ประกอบย่อย และองค์ประกอบหลักที่ 3 การเสริมสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ มี 7 องค์ประกอบย่อย 2) ผลการศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน ทุกองค์ประกอบ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการในองค์ประกอบดังต่อไปนี้ ลำดับที่ 1 การบริหารจัดการหลักสูตร ลำดับที่ 2...
ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้ตามการสืบสอบแบบแนะแนวทางร่วมกับการเขียนบันทึกการเรียนรู้ที่มีต่อความรู้และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้ตามการสืบสอบแบบแนะแนวทางร่วมกับการเขียนบันทึกการเรียนรู้กับกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้ตามการสืบสอบแบบแนะแนวทางร่วมกับการเขียนบันทึกการเรียนรู้กับกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ และ 3) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้ตามการสืบสอบแบบแนะแนวทางร่วมกับการเขียนบันทึกการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์ จำนวน 56 คน เป็นกลุ่มทดลอง 29 คน และกลุ่มควบคุม 27 คน โดยนักเรียนกลุ่มทดลองได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้ตามการสืบสอบแบบแนะแนวทางร่วมกับการเขียนบันทึกการเรียนรู้ และนักเรียนกลุ่มควบคุมได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้ตามการสืบสอบแบบแนะแนวทางร่วมกับการเขียนบันทึกการเรียนรู้ และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบวัดความรู้ทางคณิตศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความรู้ทางคณิตศาสตร์หลังเรียนไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
การพัฒนาเจตคติ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และพฤติกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนการสอนที่เน้นกิจกรรมเป็นฐาน
งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบเจตคติ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และพฤติกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นกิจกรรมเป็นฐานในช่วงก่อนเรียนและหลังเรียน (2) เปรียบเทียบเจตคติ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และพฤติกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นกิจกรรมเป็นฐานกับกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบปกติ (3) ศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ช่วงก่อนเข้าเรียน ระหว่างเรียนและหลังเลิกเรียน จำแนกตามระดับของเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นกิจกรรมเป็นฐาน โดยตัวแปรจัดกระทำในการวิจัยในครั้งนี้คือ การจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ที่แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นกิจกรรมเป็นฐานและการจัดการเรียนการแบบปกติ โดยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นกิจกรรมเป็นฐาน ผู้วิจัยได้แบ่งขั้นการสอนออกเป็น 4 ขั้น คือ (1) ขั้นกระตุ้นเพื่อเตรียมความพร้อม (2) ขั้นจัดกิจกรรมเพื่อสร้างประสบการณ์ (3) ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสะท้อนคิด (4) ขั้นสรุปและการนำไปใช้ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นกิจกรรมเป็นฐาน (2) แผนการจัดการเรียนการสอนแบบปกติ (3) แบบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ (4) แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ (5) แบบวัดพฤติกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ (6) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ และ (7) แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ สถิติเชิงบรรยายและสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) เจตคติ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และพฤติกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นกิจกรรมเป็นฐานช่วงหลังเรียนสูงกว่าช่วงก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) เจตคติ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และพฤติกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นกิจกรรมเป็นฐานสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) พฤติกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ในช่วงก่อนเข้าเรียน ระหว่างเรียนและหลังเลิกเรียนของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นกิจกรรมเป็นฐานที่จำแนกตามระดับของเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ทั้งสองระดับมีพัฒนาการที่ดีขึ้น
ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เทศบาลเมืองปทุมธานี
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รูปแบบการศึกษาวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เทศบาลเมืองปทุมธานี จำนวน 60 ราย เป็นกลุ่มทดลอง และเทศบาลท่าโขลง จำนวน 60 ราย เป็นกลุ่มเปรียบเทียบ เครื่องมือเก็บรวบรวม ได้แก่ แบบวัดระดับความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 4 ด้าน ได้แก่ การเข้าถึงข้อมูล การเข้าใจ การตัดสินใจ การนำไปใช้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและค่าสัดส่วน ผลการศึกษา พบว่าอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในกลุ่มทดลองหลังการเข้าร่วมโปรแกรมมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ((63.75+9.98), (39.78+8.39), p value<0.001) คะแนนความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ((41.65+9.37), (63.75+9.98), p value<0.001) คะแนนความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพจิตระหว่างกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ ((63.75+9.98), (39.78+8.39) , p value <0.001) ทั้งนี้ในกลุ่มทดลองมีการเปลี่ยนแปลงของระดับความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุจากระดับไม่เพียงพอเป็นระดับเพียงพอ จำนวน 43 ราย (ร้อยละ 71.6) (p value<0.001) แต่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวในกลุ่มเปรียบเทียบ ดังนั้นโปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุข สามารถใช้เป็นเครื่องมือเพื่อเพิ่มระดับความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านได้
การพัฒนาการจัดตารางเวลาสำหรับเจ้าหน้าที่ภาคพื้นของสายการบิน
งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดตารางเวลาการกำหนดงานสำหรับเจ้าหน้าที่ภาคพื้นของสายการบิน ในส่วนงานให้บริการเช็คอินผู้โดยสารและส่วนงานรับ-ส่งเครื่องบินของสายการบินโดยลักษณะการกำหนดงานในปัจจุบันผู้จัดตารางจะทำการแบ่งเจ้าหน้าที่เป็นกลุ่มละเท่าๆกันและกำหนดงาน แต่เนื่องจากแต่ละส่วนงานมีความต้องการจำนวนเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลาจึงทำให้รูปแบบการกำหนดงานดังกล่าวไม่มีประสิทธิภาพ งานวิจัยนี้มุ่งเน้นให้มีการพัฒนาการจัดตารางเวลาที่มีประสิทธิภาพมากกว่าในรูปแบบปัจจุบันและสามารถลดจำนวนเจ้าหน้าที่ในระบบปฏิบัติงานลง โดยทำการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในรูปแบบกำหนดการเชิงเส้นจำนวนเต็ม (Integer Linear Programming) และทำการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดตารางเวลากำหนดงานของเจ้าหน้าที่แตกต่างไปจากลักษณะเดิม นั่นคือได้ทำการจัดตารางเวลาให้แก่เจ้าหน้าที่ภาคพื้นเป็นรายบุคคลตามปริมาณงานที่มีและหาผลเฉลยการจัดตารางโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟท์ เอ็กเซล พรีเมี่ยม โซลเวอร์ แพลตฟอร์ม (Microsoft Excel Premium Solver Platform) ในการหาผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ผลการวิจัยพบว่าการพัฒนาการจัดตารางเวลารูปแบบใหม่สามารถลดจำนวนงานในการปฏิบัติงานรวมทุกกะงานลงเหลือ 68 งานต่อวันจากปัจจุบัน 80 งานต่อวัน นอกจากนี้ การพัฒนาการจัดตารางเวลาและปรับรูปแบบการเปิดบริการเคาน์เตอร์เช็คอินสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ประโยชน์เคาน์เตอร์เช็คอินจาก 43.26% เป็น 78.27% และสามารถแก้ปัญหาจำนวนเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอในการปฏิบัติงานรับ-ส่งเครื่องบินในช่วงเวลาที่มีปริมาณเที่ยวบินหนาแน่น