22,877 Works
การลดต้นทุนพลังงานจากการผลิตไฟฟ้าและความร้อนร่วม: กรณีศึกษา การลงทุนในรูปแบบบริษัทจัดการพลังงาน (ESCO)
งานวิจัยนี้นำเสนอการลดต้นทุนพลังงานจากการผลิตไฟฟ้าและความร้อนร่วม (Cogeneration) จากการวิเคราะห์ศักยภาพการใช้พลังงานและพฤติกรรมการใช้พลังงานก่อนและหลังที่จะมี Cogeneration ในโรงงานโดยใช้เทคนิคการจัดการพลังงาน ซึ่งเป็นกรณีศึกษาของการลงทุนในรูปแบบบริษัทจัดการพลังงาน (ESCO) โดยมีการรับประกันผลประหยัด การแบ่งผลประหยัดและระยะเวลาในการรับประกัน เพื่อเป็นตัวอย่างการลงทุนในรูปแบบ ESCO กับ Cogeneration ในประเทศไทย ผลการศึกษาจะนำไปสู่การเพิ่มศักยภาพการประหยัดพลังงานและการจัดการพลังงานเพื่อเพิ่มผลประหยัดของโรงงานและเป็นแนวทางในการนำเทคนิคการแบ่งผลประหยัดและการรับประกันจากการประหยัดพลังงานของรูปแบบบริษัทจัดการพลังงานให้กับโรงงานอื่นๆ
ผลของโรคไตวายเรื้อรังต่อตัวขนส่งยาและเอนไซม์ไซโตโครมพี 450 3เอ ในลำไส้เล็กหนูเมาส์
โรคไตเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย พบว่าผู้ป่วยมักประสบปัญหาด้านการใช้ยา และการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับกระบวนการขนส่งยา และเปลี่ยนแปลงยาที่เปลี่ยนแปลงในลำไส้เล็ก การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโรคไตวายเรื้อรังต่อการแสดงออกของยีน mdr1a, mrp2, oatp3, cyp3a11 และการทำงานของเอนไซม์ CYP3A ในลำไส้เล็กของหนูเมาส์ ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรังด้วยโมเดล chronic ischemic reperfusion ในหนูเมาส์ โดยการแบ่งหนูเมาส์ออกเป็นกลุ่ม 2 และ 4 สัปดาห์ เก็บซีรั่มเพื่อตรวจวัดระดับ serum creatinine, serum urea ศึกษาแสดงออกของยีน mdr1a, mrp2, oatp3, cyp3a11 ด้วยเทคนิค quantitative real time RT-RCR และศึกษาการทำงานของเอนไซม์ CYP3A ด้วยเทคนิค HPLC ผลที่ได้พบว่าระดับ serum creatinine ของหนูเมาส์ที่ได้รับการเหนี่ยวนำเกิดไตเรื้อรังที่ 2 และ 4 สัปดาห์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับหนูกลุ่มปกติ (0.78±0.02 mg/dL ต่อ 0.31±0.08 mg/dL ที่ 2 สัปดาห์ p< 0.01, 0.47±0.03 mg/dL ต่อ 0.29±0.03 mg/dL ที่ 4 สัปดาห์ p< 0.01 ตามลำดับ) ระดับ serum urea ของหนูเมาส์ที่ได้รับการเหนี่ยวนำเกิดไตเรื้อรังที่...
การพัฒนารูปแบบระบบควบคุมฟาร์มอัจฉริยะในโรงเรือนปลูกพืชโดยใช้คอมพิวเตอร์แบบฝัง
วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 20, 1, 21-29
ผลของปุ๋ยหมักกากครามต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของคะน้า
วารสารเกษตรพระวรุณ, 14, 2, 165-172
การปรากฏร่วมกันของคำในภาษาญี่ปุ่น: กรณีศึกษาคำนามจากคลังข้อมูลภาษา
วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา, 9, 1, 49-68
ภาพลักษณ์วิญญาณอาฆาตในวรรณกรรมเรื่องคิบิท์ซุโนะกะมะ: เปรียบเทียบกับกรณีของโระกุโจใน เก็นจิโมะโนะงะตะริ
วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา, 9, 1, 69-88
บทวิจารณ์หนังสือ: ยลเจแปน (2557)
วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา, 9, 1, 115-122
Using radio frequency to control Liposcelis entomophila in Jasmine rice
Nadthawat Muenmanee Kritthapot Nantakool
Khon Kaen Agriculture Journal, 49, 1, 119-129
Sugar and raw sugar products export volumes forecasting models based on wavelet-nonlinear autoregressive neural network
Khon Kaen Agriculture Journal, 49, 1, 179-191
Effect of plant extracts (Phyllanthus emblica Allium ascalonicum and Sesbania grandiflora) on growth hematology and non-specific immune response of tilapia (Oreochromis niloticus)
Khon Kaen Agriculture Journal, 49, 1, 192-202
Effects of substrate on growth, survival and pigment intensity of the cherry shrimp
Nirandon Phuwan Parichart Ninwichian
Khon Kaen Agriculture Journal, 49, 1, 203-212
Estimation of genetic parameters for growth traits in Snakeskin gourami, Trichogaster pectoralis (Regan) of 1st generation
Sanga Leesanga Jomsuda Duangwongsa
Khon Kaen Agriculture Journal, 49, 1, 213-222
Effects of brewer's yeast on nutritional value and in vitro digestibility of rice bran
Khon Kaen Agriculture Journal, 49, 1, 234-240
ปัญหาการห้ามมิให้ผู้ต้องคำพิพากษาในคดีอาญาได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพในระบบกฎหมายไทย
ปัญหาการห้ามมิให้ผู้ต้องคำพิพากษาในคดีอาญาได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพ เป็นกรณีที่กฎหมายได้กำหนดลักษณะต้องห้ามในการขออนุญาตประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพของบุคคลด้วยเหตุเคยต้องคำพิพากษาในคดีอาญา โดยมีรูปแบบและลักษณะของการกำหนดลักษณะต้องห้ามที่แตกต่างกันออกไป ทำให้บุคคลที่เคยต้องคำพิพากษาในคดีอาญาไม่สามารถประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพบางอย่างได้ การห้ามมิให้ผู้ต้องคำพิพากษาในคดีอาญาได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพทำให้เกิดปัญหาบางประการต่อตัวผู้เคยต้องคำพิพากษาในคดีอาญาและระบบกฎหมายในเรื่องการกำหนดลักษณะต้องห้ามในการประกอบกิจการหรืออาชีพของผู้เคยต้องคำพิพากษาในคดีอาญา ได้แก่ ปัญหาความสอดคล้องกับแนวคิดวัตถุประสงค์ในการลงโทษ เนื่องจากผู้เคยต้องคำพิพากษาในคดีอาญาเมื่อพ้นโทษและผ่านระบบการฟื้นฟูของรัฐมาแล้วไม่สามารถกลับคืนสู่สังคมไปประกอบกิจการหรืออาชีพบางประการได้ ปัญหาความสอดคล้องกับหลักความได้สัดส่วนที่มาตรการในการกำหนดลักษณะต้องห้ามบางลักษณะจำกัดเสรีภาพในการประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพเกินความจำเป็นและก่อให้เกิดความเสียหายต่อเสรีภาพของบุคคลที่เคยต้องคำพิพากษาในคดีอาญามากกว่าประโยชน์สาธารณะที่จะพึงได้รับ รวมทั้งปัญหาความสอดคล้องกับหลักความเสมอภาค เนื่องจากการกำหนดลักษณะต้องห้ามบางลักษณะขาดความสมเหตุสมผลทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม และการกำหนดลักษณะต้องห้ามของกฎหมายฉบับต่าง ๆ มีความแตกต่างกันออกไปจำแนกได้เป็นหลายกลุ่มทำให้เกิดผลในทางกฎหมายที่แตกต่างกันขาดความเป็นเอกภาพจึงไม่มีความเสมอภาคกันในระบบกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดลักษณะต้องห้ามด้วยเหตุเคยต้องคำพิพากษาในคดีอาญา วิทยานิพนธ์นี้ผู้เขียนจึงมุ่งนำเสนอปัญหาการห้ามมิให้ผู้ต้องคำพิพากษาในคดีอาญาได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพว่ามีความสอดคล้องกับแนวคิดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการลงโทษ หลักการจำกัดเสรีภาพในการประกอบกิจการและการประกอบอาชีพ และหลักความเสมอภาคหรือไม่ รวมทั้งค้นหาแนวทางการแก้ปัญหาว่าการห้ามมิให้ผู้ต้องคำพิพากษาในคดีอาญาได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพสามารถทำได้แค่ไหนเพียงใด จึงจะทำให้เกิดดุลยภาพระหว่างความเสียหายของบุคคลในการขาดโอกาสในทางเศรษฐกิจกับประโยชน์สาธารณะในการรักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และความเป็นระเบียบของการดำเนินกิจการหรืออาชีพ
ข้อพิจารณาในการเข้าเป็นภาคีแห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยกฎเกณฑ์การล่าวาฬ ค.ศ. 1946 ของประเทศไทย
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาถึงข้อพิจารณาในการเข้าเป็นภาคีแห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยกฎเกณฑ์การล่าวาฬ ค.ศ. 1946 โดยการวิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ วิธีการในการดำเนินการล่าวาฬเพื่อการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการล่าวาฬเพื่อการค้าและพาณิชย์ การล่าวาฬเพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และการล่าวาฬเพื่อการดำรงชีวิตของกลุ่มชนพื้นเมือง รวมไปถึงพันธกรณีต่าง ๆ ภายใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยกฎเกณฑ์การล่าวาฬ ค.ศ. 1946 และพิจารณาเปรียบเทียบกับกฎหมายภายในของประเทศไทยว่ามีความสอดคล้องกันกับข้อกำหนดต่าง ๆ ภายใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยกฎเกณฑ์การล่าวาฬ ค.ศ. 1946 มากน้อยเพียงใด อันนำมาซึ่งการกำหนดข้อพิจารณาต่าง ๆ ในการที่ประเทศไทยจะเข้าเป็นภาคีแห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยกฎเกณฑ์การล่าวาฬ ค.ศ. 1946 รวมทั้งพิจารณาถึงประโยชน์และผลเสียของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีแห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศฉบับดังกล่าวจากการศึกษาค้นคว้าดังพบว่า อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยกฎเกณฑ์การล่าวาฬ ค.ศ. 1946 ถือเป็นอีกหนึงกลไกสำคัญในทางระหว่างประเทศในการควบคุมการดำเนินการล่าวาฬในปริมาณที่มากเกินไปกว่าความจำเป็น โดยการล่าวาฬที่สามารถกระทำได้ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยกฎเกณฑ์การล่าวาฬ ค.ศ. 1946 ประกอบไปด้วยการดำเนินการล่าวาฬ 3 ลักษณะด้วยกัน คือ การดำเนินการล่าวาฬในลักษณะที่เป็นการล่าวาฬเพื่อการค้าและการพาณิชย์ (Commercial Whaling) การดำเนินการล่าวาฬเพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Whaling) และการดำเนินการล่าวาฬเพื่อการดำรงชีวิตของกลุ่มชนพื้นเมือง (Aboriginal Subsistence Whaling) ซึ่งรัฐภาคีแห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยกฎเกณฑ์การล่าวาฬ ค.ศ. 1946 จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดต่าง ๆ ภายใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยกฎเกณฑ์การล่าวาฬ วาฬ ค.ศ. 1946 อย่างเคร่งครัดและตระหนักได้ว่าวาฬถือเป็นทรัพยากรธรรมชาติร่วมกันของโลกที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์และป้องกันจากการดำเนินการล่าวาฬในปริมาณที่มากเกินไปกว่าความจำเป็น (Overfishing) ปัจจุบันประเทศไทยยังมิได้เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกแห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยกฎเกณฑ์การล่าวาฬ ค.ศ. 1946 แต่อย่างไรนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีข้อเสนอให้ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีแห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศดังกล่าว โดยจะต้องมีการเตรียมความพร้อมในหลาย ๆ ประเด็น รวมถึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายภายในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ไว้ซึ่งทรัพยากรวาฬให้มีความสอดคล้องกับข้อกำหนด พันธกรณีแห่งอนุสัญญาดังกล่าว และเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ภายใต้แนวความคิดที่ว่าวาฬเป็นทรัพยากรธรรมชาติร่วมกันของโลกที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์และป้องกันจากการดำเนินการล่าวาฬในปริมาณที่มากเกินไปกว่าความจำเป็น
Quantification Prediction Soil Losses in Nakhon Ratchasima, Thailand
Naresuan University Journal: Science and Technology, 29, 3, 78-95
Simple Detection Kit for Copper (II) Ion in Water using Solid Sorbent Modified with Cyanidin Extracted from Red Cabbage
Naresuan University Journal: Science and Technology, 29, 3, 105-113
ความมั่นใจสูงล้น การจัดการผิดพลาด และหายนะโรคระบาดโควิด-19 ในสหภาพยุโรป
วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 20, 2, 1-20
ข้อสังเกตเกี่ยวกับระยะเวลาที่ผู้รับการให้ ต้องไม่ประพฤติเนรคุณ
วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 30, 2, 48
H-Infinity VF Controller-Based Three-Phase Voltage Source Parallel Autonomous Grid
Mubashir Hayat Khan Erum Pathan
International Transaction Journal of Engineering, Management, & Applied Sciences & Technologies, 12, 2, 12A2P: 1-13
A Survey on Bio-inspired Routing Algorithms in Wireless Sensor Network
Sujatha Terdal Shivani S Bhasgi
International Transaction Journal of Engineering, Management, & Applied Sciences & Technologies, 12, 2, 12A2Q: 1-13
Socio-Economic Nonlinear Dynamics Processes for Forecast and Pre-Forecast Information Based on Time Series
Elena Popova Alfira Kumratova
International Transaction Journal of Engineering, Management, & Applied Sciences & Technologies, 12, 2, 12A2R: 1-9
แบบสัญญาเช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยระยะยาวซึ่งมีวัตถุประสงค์การใช้เสมือนการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
ธุรกิจการพัฒนาโครงการอาคารชุดแต่เดิมเป็นการซื้อขายอาคารชุดแบบมีกรรมสิทธิ์ภายใต้บทบัญญัติว่าด้วยการซื้อขาย แต่ต่อมาเมื่อประชาชนมีความต้องการครอบครองพื้นที่ในเขตเมืองมากขึ้น ซึ่งสวนทางกับจำนวนพื้นที่ที่มีกรรมสิทธิ์ในเมืองที่ลดลง ประกอบกับพื้นที่เมืองที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ของรัฐหรือพื้นที่ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ทำให้มีข้อจำกัดการห้ามโอนกรรมสิทธิ์ในอาคารชุดตามกฎหมาย จึงก่อให้เกิดธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยระยะยาวซึ่งมีวัตถุประสงค์การใช้เสมือนการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาการห้ามโอนกรรมสิทธิ์ในพื้นที่ของรัฐและทำให้เอกชนสามารถนำพื้นที่ของรัฐหรือพื้นที่ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ออกใช้ประโยชน์ได้ โดยสัญญาดังกล่าวมีลักษณะสัญญาเป็นการเช่าทรัพย์อย่างหนึ่งที่ยังคงไว้ซึ่งวัตถุประสงค์การใช้ทรัพย์เสมือนกับผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ทำให้สัญญาดังกล่าวไม่ตกอยู่ภายใต้บทบัญญัติว่าด้วยการซื้อขายอย่างการซื้อขายอาคารชุดแบบมีกรรมสิทธิ์ แต่ตกอยู่ภายใต้บทบัญญัติว่าด้วยการเช่าทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และประกาศ-คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาเรื่องให้ธุรกิจให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2562จากการศึกษาพบว่า ในปัจจุบัน สัญญาเช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยระยะยาวซึ่งมีวัตถุประสงค์การใช้เสมือนการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ยังมีปัญหา 2 ประการหลักคือ ปัญหาความไม่เหมาะสมของประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาเรื่องให้ธุรกิจให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2562 ต่อกรณีสัญญาเช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยระยะยาวซึ่งมีวัตถุประสงค์การใช้เสมือนการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ และปัญหาประการที่สองคือ ปัญหาการไม่มีรายละเอียดที่เหมาะสมกำหนดไว้ในกฎหมายสำหรับสัญญาเช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยระยะยาวซึ่งมีวัตถุประสงค์การใช้เสมือนการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ผู้เขียนจึงมีข้อเสนอแนะสำหรับการแก้ไขปัญหา 2 ประการหลักที่กล่าวมาข้างต้น ได้แก่ ประการแรก ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดทำกฎหมายเฉพาะสำหรับสัญญาเช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยระยะยาวซึ่งมีวัตถุประสงค์การใช้เสมือนการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ และประการที่สอง ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการกำหนดรายละเอียดในกฎหมายสำหรับสัญญาเช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยระยะยาวซึ่งมีวัตถุประสงค์การใช้เสมือนการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ กล่าวคือ ในข้อเสนอประการแรก ผู้เขียนเสนอว่าประเทศไทยควรมีกฎหมายกำหนดแบบมาตรฐานสัญญาเช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยระยะยาวซึ่งมีวัตถุประสงค์การใช้เสมือนการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ไว้เป็นการเฉพาะเพื่อคุ้มครองสิทธิในการทำสัญญาของผู้เช่าอาคารที่มีลักษณะการใช้ทรัพย์เสมือนผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ให้แตกต่างจากผู้เช่าในลักษณะทั่วไปที่อยู่ภายใต้บังคับประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาเรื่องให้ธุรกิจให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2562 สำหรับข้อเสนอประการที่สอง ผู้เขียนเสนอว่ากฎหมายที่กำหนดแบบมาตรฐานสัญญาเช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยระยะยาวซึ่งมีวัตถุประสงค์การใช้เสมือนการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ควรมีรายละเอียดการคุ้มครองสิทธิต่าง ๆของผู้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยใน 8 ประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้ รายละเอียดนิยามของสัญญาเช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยระยะยาวซึ่งมีวัตถุประสงค์การใช้เสมือนการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ รายละเอียดเกี่ยวกับการได้รับใบอนุญาตก่อสร้างอาคารจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร รายละเอียดเกี่ยวกับการถือครองกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองของผู้ให้เช่า รายละเอียดเกี่ยวกับหนี้จำนองในที่ดินและอาคาร รายละเอียดเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิ รายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิในการเลิกสัญญาของผู้ให้เช่าก่อนจดทะเบียนสิทธิ รายละเอียดเกี่ยวกับการกำหนดลักษณะ คุณภาพวัสดุอุปกรณ์ และรายละเอียดเกี่ยวกับการกำหนดระยะเวลาความรับผิดในความชำรุดของทรัพย์ที่เช่าที่ปรากฏขึ้นภายหลังส่งมอบทรัพย์สินที่เช่า ทั้งนี้ การกำหนดรายละเอียดดังกล่าว เป็นไปเป็นเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยระยะยาวซึ่งมีวัตถุประสงค์การใช้เสมือนการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ให้ทราบข้อมูลที่เพียงพอก่อนเข้าผูกพันตามสัญญาและได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญาตามสมควร
Effect of iron and manganese on Khao Dok Mali 105 rice grown in different paddy soils
Suphicha Thanachit Nuttawadee Yoojaroenkit
Khon Kaen Agriculture Journal, 49, 1, 12-24