22,877 Works

Differential expression of proteins in the central nervous system of early and late stage rabies infected dogs

Rabies is a zoonotic disease. Dogs are an important reservoir host of rabies in Thailand, Asia, Africa and Europe. The clinical manifestations are the same in humans and dogs, and are categorized into 2 forms; furious and paralytic. Although there have been many rabies studies over the years, the pathogenesis of rabies is still unclear. In this study, proteomic analysis was used to investigate changes in host responses in central nervous system (CNS) tissues at...

ผลของน้ำมันไบโอดีเซลและดีเซลต่อไข่และวัยอ่อนของกุ้งก้ามกราม

ศึกษาส่วนที่ละลายน้ำของน้ำมันไบโอดีเซล (WSF ไบโอดีเซล) และน้ำมันดีเซล (WSF ดีเซล) ที่อุณหภูมิ 25, 28, 31 และ 34 องศาเซลเซียส และความเค็ม 10, 15 and 20 psu ต่อไข่และวัยอ่อนของกุ้งกรามกราม พบว่าเวลาฟักไข่ของกุ้งก้ามกรามมีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิโดยที่ 25, 28, 31 และ 34 องศาเซลเซียส ระยะเวลาฟักไข่เท่ากับ 19, 17, 16 และ 15 วัน ตามลำดับ โดยไม่พบผลของส่วนที่ละลายน้ำของไบโอดีเซลและดีเซลต่อระยะเวลาฟักของไข่กุ้ง สำหรับอัตรารอดชีวิตของลูกกุ้งหลังฟักพบสูงในชุดควบคุมและส่วนที่ละลายน้ำของน้ำมันไบโอดีเซล แต่มีแนวโน้มการรอดลดต่ำลงเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น 34 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะส่วนที่ละลายในน้ำของน้ำมันไบโอดีเซล (33.36+0.73 เปอร์เซ็นต์) และไม่พบอัตรารอดของลูกกุ้งหลังฟักที่ความเข้มข้น 100% ส่วนที่ละลายน้ำของน้ำมันดีเซล แต่ความเข้มข้น 50% ส่วนที่ละลายน้ำของน้ำมันดีเซล อัตรารอดเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น 34 องศาเซลเซียส (37.39+0.58 เปอร์เซ็นต์) ส่วนอัตราการตายของลูกกุ้งระยะต่างๆพบว่าลูกกุ้งระยะที่ I-III มีการตายเพิ่มขึ้นเมื่อขนาดเพิ่มขึ้น และพบว่าส่วนที่ละลายน้ำของน้ำมันไบโอดีเซล มีความเป็นพิษต่ำกว่าส่วนที่ละลายน้ำของน้ำมันดีเซล การตายของลูกกุ้งที่อุณหภูมิ 28 และ 31 องศาเซลเซียส พบต่ำกว่าอุณหภูมิอื่นๆ ส่วนผลของความเค็มต่อลูกกุ้งระยะที่ I-III พบว่าความเค็มมีผลต่อการตายของลูกกุ้งระยะที่ I-II ต่ำกว่าระยะที่ III ลูกกุ้งระยะโพสลาวาร์พบการตายของลูกกุ้งต่ำกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ และส่วนที่ละลายน้ำของน้ำมันไบโอดีเซล...

การทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางประชากรของประเทศไทยที่มีสัดส่วนของผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจากการเป็นช่วงวัยสูงอายุนี้ทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถประกอบกิจกรรมบางประการได้ เช่น การทำงาน แต่อย่างไรก็ตามจากการสำรวจและศึกษาต่าง ๆ พบว่ายังคงมีผู้สูงอายุจำนวนมากที่ยังคงทำงานอยู่ ดังนั้นในการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์สำหรับการศึกษาเพื่อศึกษาทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย โดยที่การศึกษานี้ผู้วิจัยได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งนำข้อมูลจากโครงการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2554 ที่ดำเนินการสำรวจและเก็บข้อมูลโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติมาใช้ในการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล โดยมีตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 33,360 ราย สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลในการศึกษานี้ใช้การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติคทวิภาค (Binary Logistic Regression Analysis) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การวิเคราะห์การแปรผันสองทาง (Bivariate Analysis) และการวิเคราะห์การแปรผันหลายทาง (Multivariate Analysis) จากการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุที่ยังคงทำงานมีร้อยละ 42.9 โดยสถานภาพการทำงานของผู้สูงอายุมากกว่าครึ่งหนึ่งประกอบธุรกิจของตนเอง (ร้อยละ 59.96) ทั้งนี้เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยที่มีผลต่อโอกาสในการทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย พบว่า ตัวแปรทั้งหมดสามารถอธิบายการทำงานของผู้สูงอายุได้ร้อยละ 45.4 (R2 = 0.454) โดยที่ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาเกือบทั้งหมด ยกเว้นตัวแปรด้านความพึงพอใจในภาวะการเงินนั้นมีผลต่อโอกาสในการทำงานของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้จากผลการศึกษานี้ได้นำไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายต่าง ๆ ที่ช่วยในการส่งเสริมและพิทักษ์สิทธิของผู้สูงอายุในการทำงานซึ่งอาจเป็นกำลังแรงงานที่สำคัญของประเทศไทยในอนาคต คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ, การทำงาน, ประเทศไทย

พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุไทย

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุไทยและ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุไทย โดยใช้ข้อมูลจากโครงการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2554 โดยมีขนาดตัวอย่างทั้งสิ้น 16,660 ราย ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 8.95 คะแนน จากคะแนนเต็ม 12 คะแนน และพบว่าสัดส่วนของผู้สูงอายุที่มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ มีเพียงร้อยละ 12.3 ผลการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุ พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ประกอบด้วย 14 ปัจจัย คือ เพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา การทำงาน ระดับรายได้ ความเพียงพอของรายได้ ทัศนคติต่อการเตรียมการเพื่อวัยสูงอายุ การประเมินสุขภาพตนเอง ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน ภาวะสุขภาพจิต จำนวนโรคเรื้อรัง การดูแลโดยบุคลากรด้านสุขภาพ ภาคที่อยู่อาศัย และ เขตที่อยู่อาศัย โดยปัจจัยทั้งหมดมีความสัมพันธ์ทางบวกต่อคะแนนพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ยกเว้น จำนวนโรคเรื้อรังที่มีความสัมพันธ์ทางลบต่อคะแนนพฤติกรรมสุขภาพ

การพัฒนาเทคนิค MULTIPLEX ALLELE SPECIFIC–POLYMERASE CHAIN REACTION(MAS-PCR) สำหรับตรวจหาการกลายพันธุ์ของยีน GYAR และ PARC ที่เกี่ยวข้องกับการดื้อยา CIPROFLOXACIN และ LEVOFLOXACIN ของเชื้อ ESCHERICHIA COLI ในโรงพยาบาลรามาธิบดี

เชื้อ Escherichia coli เป็นแบคทีเรีย ที่เพาะแยกได้บ่อยจากสิ่งส่งตรวจและเป็นสาเหตุหลักของการติดเชื้อทั้งในและนอกระบบทางเดินอาหาร ยากลุ่ม Quinolones เป็นยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการรักษาการติดเชื้อที่มีสาเหตุมาจากเชื้อ E. coli โดยมีกลไกออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานเอนไซม์ DNA gyrase และ DNA topoisomerase IV ในกระบวนการจำลองสายดีเอ็นเอของเชื้อ ปัจจุบันสถานการณ์เชื้อ E. coli ที่ดื้อต่อยากลุ่ม Quinolones มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นและกลายเป็นปัญหาที่สำคัญทางสาธารณะสุขทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทย กลไกหลักที่ทำให้เชื้อดื้อต่อยากลุ่มดังกล่าวคือการกลายพันธุ์ของยีน gyrA และ parC ซึ่งอยู่ในส่วนของ Quinolone resistance determining regions (QRDRs) งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตำแหน่งโคดอนที่กลายพันธุ์บนยีน gyrA และ ยีน parC ที่สัมพันธ์กับการดื้อยากลุ่ม Quinolones และพัฒนาเทคนิค Multiplex allele specific-Polymerase chain reaction (MAS-PCR) สำหรับใช้ตรวจหาการกลายพันธุ์ที่ตำแหน่งโคดอน 83 และ 87 ของยีน gyrA และ 80 และ 84 ของยีน parC ซึ่งเป็นตำแหน่งหลักที่มีการกลายพันธุ์บน QRDRs เชื้อ E. coli จำนวนทั้งหมด 111 สายพันธุ์เพาะแยกได้จากสิ่งส่งตรวจในห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา โรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย เชื้อทั้งหมดถูกทดสอบความไวต่อยา Ciprofloxacin และยา Levofloxacin...

ลักษณะและค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาบันไดเลื่อน

ในปัจจุบันบันไดเลื่อนเป็นระบบขนส่งคนจำนวนมากในระหว่างชั้นอาคาร ซึ่งมีการติดตั้งในอาคารหลายลักษณะ เช่น อาคารศูนย์การค้า อาคารสำนักงาน อาคารศูนย์ประชุม อาคารท่าอากาศยาน สถานีรถไฟฟ้า เป็นต้น และอัตราการติดตั้งจะเพิ่มมากขึ้นตามการขยายตัวของอาคารในธุรกิจต่างๆ ซึ่งเจ้าของสถานที่สามารถติดตั้งเองได้โดยไม่ต้องขออนุญาต ดังนั้นความปลอดภัยของบันไดเลื่อนแต่ละที่จึงขึ้นอยู่กับ มาตรฐานในการติดตั้ง การดูแลและบำรุงรักษา ของเจ้าของสถานที่ หรือผู้ดูแลและบริหารอาคาร ซึ่งหากละเลยในการบำรุงรักษา โดยเฉพาะอุปกรณ์เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย หากไม่ได้รับการเปลี่ยนตามรอบระยะเวลาอาจเป็นสาเหตุให้บันไดเลื่อนทำงานผิดพลาด เกิดอุบัติเหตุได้ จากความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาตามข้างต้นการดูแลและบำรุงรักษาบันไดเลื่อนจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการดูแล และบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ และเปลี่ยนทดแทนอุปกรณ์ตามช่วงอายุการใช้งานเพื่อลดผลกระทบจากการเกิดอุบัติเหตุ และมีความปลอดภัยในการใช้งาน ผลการศึกษาบริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์บันไดเลื่อนที่มีสัดส่วนยอดขายบันไดเลื่อนในประเทศไทยในลำดับต้นๆ จำนวน 5 ราย และเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในประเทศไทยแบ่งช่วงอายุการใช้งานของอุปกรณ์บันไดเลื่อนเป็น 5 กลุ่ม จำนวนอุปกรณ์ทั้งหมด 26 รายการ ได้ศึกษาอายุการใช้งานแล้ว พบว่าช่วงอายุการใช้งานอุปกรณ์บันไดเลื่อนมีอายุการใช้งานแตกต่างกัน อุปกรณ์ที่มีอายุการใช้งานสั้นที่สุดคือ 3-4 ปี ส่วนอุปกรณ์ที่มีอายุการใช้งานนานที่สุดคือ 12-16 ปี การบำรุงรักษาบันไดเลื่อนพบว่าเป็นการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน และเป็นการบำรุงรักษาตามแผน (Planned Maintenance) มีการกำหนดแผนการบำรุงรักษาไว้ล่วงหน้าโดยมีรอบระยะเวลาในการบำรุงรักษาแบ่งเป็นเข้าบำรุงรักษาทุก ๆ เดือน และเพิ่มรายการบำรุงรักษาอุปกรณ์เพิ่มในทุก ๆ 3, 6, 12 เดือน การวางแผนงบประมาณค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาในการเปลี่ยนทดแทนอุปกรณ์ตามรอบเวลาของช่วงอายุการใช้งานอุปกรณ์โดยวางแผนในระยะยาว 1-20 ปี ทำให้พบว่าในปีที่ 6, 18 และ 12 มีการใช้งบประมาณในการเปลี่ยนทดแทนอุปกรณ์มากที่สุดเรียงจากน้อยไปหามากตามลำดับ ซึ่งจากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลทำให้เราสามารถทราบถึงช่วงเวลาที่ต้องจัดเตรียมการวางแผนงบประมาณในการบำรุงรักษาในแต่ละปี ซึ่งมีค่าใช้จ่ายมากน้อยไม่เท่ากันในแต่ละปี

แนวทางการพัฒนาพื้นที่โล่งรอบอาคารพาณิชยกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ : กรณีศึกษาพื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจกรุงเทพมหานคร

ปัจจุบันในกรุงเทพมหานครขาดแคลนพื้นที่สาธารณะที่เปิดให้ใช้งานได้อย่างอิสระ แต่กลับพบพื้นที่ที่มีลักษณะใกล้เคียงพื้นที่สาธารณะกระจายตัวอยู่ในบริเวณศูนย์กลางเมืองที่มีความหนาแน่นรอบอาคารพาณิชยกรรมอย่างมีนัยยะ โดยพื้นที่เหล่านี้ถูกถือครองกรรมสิทธิ์โดยเอกชน โดยเปิดให้สาธารณะเข้าไปใช้งานได้ เรียกว่า พื้นที่โล่งรอบอาคารพาณิชยกรรม ทั้งที่ตั้งใจ และไม่ตั้งใจให้สาธารณะใช้งานก็ตาม ซึ่งพบว่าพื้นที่เหล่านี้ยังไม่ถูกใช้งานอย่างอเนกประโยชน์ คือ ใช้งานอย่างไม่เหมาะสม และไม่คุ้มค่าพอในการใช้งานอย่างสาธารณะ ไม่ส่งผลดีต่อสังคม และเศรษฐกิจ ภาคเอกชนจึงมักไม่ให้ความสำคัญกับพื้นที่เหล่านี้ ทางภาครัฐจึงมีมาตรการ การเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน(FAR Bonus) เป็นมาตรการเพื่อเพิ่มพื้นที่สาธารณะของเมืองโดยการจัดให้มีพื้นที่ว่างเพื่อการใช้ประโยชน์สาธารณะ หรือ Privately Owned Public Space (POPS) เพื่อให้พื้นที่ของเอกชนมีการออกแบบอย่างเหมาะสม ทั้งการเข้าถึงพื้นที่ การสัญจรผ่านพื้นที่ และการสร้างกิจกรรมการจับจองพื้นที่ แต่ยังไม่มีแนวคิดการออกแบบ (Design Guideline) ที่ชัดเจนเพื่อควบคุม?? จึงมีความสนใจที่จะศึกษาหารูปแบบการออกแบบพื้นที่เหล่านี้จากพื้นที่ศึกษาที่เข้าข่ายการเป็น POPS และ การหลักการออกแบบพื้นที่อเนกประโยชน์ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับสาธารณะ โดยงานวิจัยนี้จะมุ่งเน้นไปที่การศึกษาพื้นที่โล่งสาธารณะ ที่มีอยู่ในพื้นที่ย่านธุรกิจศูนย์กลางเมืองกรุงเทพมหานคร เพื่อดูรูปแบบที่มีอยู่ การออกแบบ และการใช้งานจริง เพื่อใช้ในการหาแนวทางการออกแบบต่อไป โดยพบว่าพื้นที่โล่งรอบอาคารพาณิชยกรรมเหล่านี้มีการกระจุกตัวใน 3 ย่าน คืนย่านการค้าสยาม-ประตูน้ำ ย่านธุรกิจสีลม-สาทร และอโศก-สุขุมวิท โดยมีการใช้งานต่างไปตามรูปแบบการใช้ประโยชน์อาคาร โดยศึกษาประกอบกับข้อมูลด้านการออกแบบพื้นที่ พบว่าบริบทของเมือง ลักษณะทางกายภาพ และลักษณะการใช้งานมีความสัมพันธ์กัน จึงสามารถสรุปได้ว่าการให้ความสำคัญกับด้านองค์ประกอบอื่นๆของพื้นที่ พื้นที่สีเขียว และการเข้าถึง สามารถดึงดูดให้พื้นที่มีการใช้งานอย่างสาธารณะได้จริง และนำแนวทางการออกแบบที่พบนำไปเสนอเป็นการออกแบบเชิงกายภาพ และแนวคิดการออกแบบที่ใช้สำหรับพื้นที่ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันโดยมีรูปแบบแนวทางการออกแบบที่แตกต่างกันไปตามบริบทของเมือง และเพื่อออกแบบพื้นที่ตัวอย่าง

กระบวนการพัฒนาโครงการรีสอร์ทเพื่อสุขภาพ: กรณีศึกษา โครงการเต๋าการ์เด้น เฮลธ์สปาแอนด์รีสอร์ท และโครงการปานวิมาน เชียงใหม่ สปา รีสอร์ท

ในปัจจุบันการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพกำลังได้รับความนิยมในกลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ แต่ยังมีปัญหาและอุปสรรค คือ ขาดคุณภาพและมาตรฐานด้านสถานที่ การบริการ และบุคลากร โดยมีโครงการที่น่าสนใจคือ สถานที่พักประเภทรีสอร์ทเพื่อสุขภาพในจังหวัดเชียงใหม่ที่ได้รับรางวัลจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย สาขาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมีทั้งหมด 2 โครงการ คือ โครงการเต๋า การ์เด้น เฮลธ์สปาแอนด์รีสอร์ท เป็นรีสอร์ทประเภท Destination Spa และโครงการปานวิมาน เชียงใหม่ สปา รีสอร์ท เป็น รีสอร์ทประเภท Hotel/ Resort Spa งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาโครงการ องค์ประกอบทางภูมิทัศน์ที่เหมาะสม และปัจจัยที่ส่งเสริมให้ประสบความสำเร็จของสถานที่พักประเภทรีสอร์ท เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาโครงการให้แก่ผู้ประกอบการ ด้วยการเก็บข้อมูลจากการสร้างแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสำหรับผู้บริหาร ผู้จัดการและเจ้าที่หน้าที่ดูแลรับผิดชอบแต่ละฝ่าย กรณีศึกษาละ 3 คน รวม 6 คน และผู้เข้าพัก อย่างน้อยร้อยละ 30 ของห้องพักในรีสอร์ทแต่ละกรณีศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ทั้ง 2 โครงการประสบความสำเร็จ คือ 1)ด้านทำเลที่ตั้ง โดยต้องมีความสงบสูง ใกล้ชิดธรรมชาติ และมีทัศนียภาพที่สวยงาม เพราะจะส่งผลให้ผู้พักอาศัยมีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ 2)ออกแบบภูมิทัศน์ภายในโครงการจะต้องมีความสอดคล้องกับกิจกรรมที่ทำ และจำเป็นต้องปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการบำบัดร่างกายและจิตใจของผู้เข้าพัก โดยผ่านประสาทรับรู้ทั้ง 5 คือ การเห็น การรับกลิ่น การลิ้มรส การได้ยิน และการรับรู้/สัมผัส โดยมีทั้งการใช้ธรรมชาติเดิมในพื้นที่ และการสร้างสภาพแวดล้อมใหม่เลียนแบบธรรมชาติขึ้นมา 3)กิจกรรมเพื่อสุขภาพจะต้องมีความหลากหลาย มีกิจกรรมแปลกใหม่ และหมุนเวียน เพื่อทำให้เกิดการพักซ้ำของกลุ่มลูกค้า และ 4)พนักงานทุกคนต้องผ่านการฝึกอบรมมาอย่างดี โดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพต้องมีประสบการณ์สูง และจะต้องมีใบรับรองอย่างถูกต้อง ซึ่งชื่อเสียงของผู้เชี่ยวชาญจะส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้เข้าพักอีกด้วย นอกจากนี้ผู้บริหารเองควรมีนโยบายสร้างความพึงพอใจให้แก่พนักงาน...

การแปลงแผนภาพยูเอ็มแอลสเตทแมชชีนเป็นภาษาโพรเมลา

การทำการทวนสอบเชิงรูปนัยโดยใช้วิธีการโมเดลเช็คกิงโดยเครื่องมือสปินนั้นต้องอาศัยแบบจำลองที่เป็นภาษาโพรเมลาซึ่งการทวนสอบเชิงรูปนัยนั้นสามารถทำได้ตั้งแต่ระยะต้นของกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์โดยเฉพาะขั้นตอนการออกแบบ ปัจจุบันการออกแบบระบบได้มีการนำแผนภาพยูเอ็มแอลมาใช้โดยเฉพาะแผนภาพสเตทแมชชีนที่ช่วยอธิบายพฤติกรรมแบบพลวัตของระบบซอฟต์แวร์ วิทยานิพนธ์นี้จึงนำเสนอเครื่องมือในการแปลงแผนภาพสเตทแมชชีนที่มีการเขียนโอซีแอลไปเป็นภาษาโพรเมลา เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการทำการทวนสอบด้วยวิธีโมเดลเช็คกิงโดยเครื่องมือสปิน โดยวิทยานิพนธ์นี้สนใจสัญลักษณ์พื้นฐานของแผนภาพสเตทแมชชีน 5 สัญลักษณ์ด้วยกันคือ สัญลักษณ์เริ่มต้น สัญลักษณ์สิ้นสุด สัญลักษณ์สถานะ สัญลักษณ์ทางเลือก และสัญลักษณ์การเปลี่ยนสถานะ และมีแม่แบบในการแปลง 6 แม่แบบ สำหรับแปลงแผนภาพสเตทแมชชีนเป็นภาษาโพรเมลา ทั้งนี้เครื่องมือสามารถแปลงแผนภาพสเตทแมชชีนที่มีการเขียนโอซีแอลบนแผนภาพ สเตทแมชชีนไปเป็นภาษาโพรเมลาได้ โดยเครื่องมือจะรับแผนภาพสเตทแมชชีนที่อยู่ในรูปแบบแฟ้มเอกสารเอกซ์เอ็มแอลเป็นข้อมูลนำเข้าในการแปลงและข้อมูลนำออกเป็นภาษาโพรเมลา

การลดทอนแรงดันโหมดร่วมโดยการเลือกแรงดันลำดับศูนย์สำหรับอินเวอร์เตอร์พีวีชนิดสองภาคสามเฟสแบบเชื่อมต่อโครงข่าย

วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอการลดทอนแรงดันโหมดร่วมสำหรับระบบพีวีอินเวอร์เตอร์สองภาคสามเฟสแบบเชื่อมต่อโครงข่าย โดยงานวิจัยนี้จะพิจารณาแรงดันโหมดร่วมทั้งจากวงจรทบระดับและวงจรอินเวอร์เตอร์สามเฟสไปพร้อมๆกัน ในเบื้องต้นจะนำเสนอถึงวงจรสมมูลที่มีความแม่นยำสำหรับระบบพีวีอินเวอร์เตอร์ วงจรสมมูลนี้สามารถแสดงให้เห็นถึงการเชื่อมต่อกันและลักษณะของรูปคลื่นของแรงดันโหมดร่วม ณ ขณะใดขณะหนึ่งของอินเวอร์เตอร์และของวงจรทบระดับ หลังจากนั้นนำเสนอวิธีการมอดูเลตของอินเวอร์เตอร์แบบใหม่ที่นำสถานะการสวิตช์ของวงจรทบระดับมาพิจารณาเพื่อให้เกิดการหักล้างกันของแรงดันโหมดร่วม แนวคิดของการมอดูเลตดังกล่าวจะประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนแรกคือจะเกี่ยวข้องกับสัญญาณคลื่นพาห์ของวงจรทบระดับและของอินเวอร์เตอร์ซึ่งจะต้องซิงโครไนซ์ที่ใช้คาบการสวิตช์เดียวกันและมีการกลับเฟสซึ่งกันและกัน ส่วนที่สองคือการเลือกแรงดันลำดับศูนย์ของอินเวอร์เตอร์ เพื่อให้จังหวะการสวิตช์ของวงจรทบระดับตรงกับจังหวะการสวิตช์ของแรงดันเฟสใดเฟสหนึ่งของอินเวอร์เตอร์ที่มีค่าใกล้กับค่าแรงดันของวงจรทบระดับมากที่สุด ผลการจำลองการทำงานแสดงให้เห็นถึงความถูกต้องของวงจรสมมูลที่นำเสนอ โดยให้ผลตอบสนองที่สอดคล้องเหมือนกับของวงจรจริงที่มีวงจรทบระดับและอินเวอร์เตอร์ ผลการทดลองยังแสดงให้เห็นถึงสมรรถนะของวิธีการลดทอนแรงดันโหมดร่วมที่นำเสนอ โดยสามารถลดทอนแรงดันโหมดร่วมและกระสั่วรั่วไหลได้อย่างมีนัยสำคัญ

ผลกระทบลักษณะกระเป๋าสะพายหลังและการจัดเรียงสิ่งของต่ออัตราการเต้นของหัวใจและท่าทางของร่างกายท่อนบน

ปัญหาจากการเลือกใช้กระเป๋าสะพายหลัง นอกจากเรื่องของน้ำหนักที่บรรจุแล้ว ยังมีประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเลือกและวิธีการใช้ เช่น ลักษณะของกระเป๋าสะพายหลังที่มีความหลากหลายเหมาะกับการใช้งานที่แตกต่างกัน และการจัดเรียงสิ่งของที่อาจส่งผลกระทบต่อร่างกาย งานวิจัยนี้จึงได้ทำการศึกษาปัจจัยของกระเป๋าสะพายหลัง ได้แก่ ลักษณะของกระเป๋าและวิธีการจัดเรียงสิ่งของที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายและท่าทาง โดยกำหนดให้ผู้เข้าร่วมการทดลองจำนวน 8 คน สะพายกระเป๋า 3 รูปแบบ ได้แก่ กระเป๋าสะพายหลังแบบทั่วไปที่ใช้วัสดุเป็นผ้า กระเป๋าแบบที่มีสายรัดอกและเอวและมีแผ่นรองหลัง กระเป๋าสะพายหลังแบบมีโครงสร้างที่แข็ง ที่บรรจุน้ำหนักร้อยละ 10 ของน้ำหนักผู้เข้าร่วมทดลอง และจัดเรียงสิ่งของให้จุดศูนย์ถ่วงของกระเป๋าอยู่ตำแหน่งที่แตกต่างกัน 2 ระดับ คือ ด้านบน และด้านล่าง ศึกษากิจกรรม 2 รูปแบบ คือ เดินด้วยความเร็วปกติ และวิ่งช้าๆ บนสายพานปรับความเร็ว (Treadmill) ในห้องปฏิบัติการ โดยอัตราการเต้นของหัวใจของผู้เข้าร่วมการทดลองได้ถูกบันทึกตลอดเวลา พร้อมกับข้อมูลพิกัดการเคลื่อนที่ 3 มิติ ของร่างกายท่อนบนด้วยระบบบันทึกการเคลื่อนไหวด้วยภาพ OptiTrack™ ที่อัตรา 30 ภาพต่อวินาที เพื่อดูผลกระทบต่ออัตราการใช้พลังงาน อัตราการเปลี่ยนแปลงองศาของการโน้มตัวไปด้านหน้าในระนาบ Sagittal และพื้นที่การแกว่งของกระเป๋าเทียบกับลำตัวในระนาบ Frontal จากการศึกษาพบว่าการสะพายกระเป๋าแบบที่มีสายรัดอกและเอวและมีแผ่นรองหลังส่งผลให้มีอัตราการใช้พลังงาน และพื้นที่การแกว่งของกระเป๋าเทียบกับลำตัวต่ำที่สุดทั้งในขณะเดินและวิ่ง สำหรับการจัดเรียงสิ่งของนั้นพบว่าการจัดเรียงสิ่งของโดยให้จุดศูนย์ถ่วงของกระเป๋าอยู่ตำแหน่งด้านล่างของกระเป๋าส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงของอัตราการใช้พลังงาน และพื้นที่การแกว่งของกระเป๋าเทียบกับลำตัวต่ำที่สุดทั้งในขณะเดินและวิ่ง แต่ในขณะเดียวกันจัดเรียงสิ่งของโดยให้จุดศูนย์ถ่วงอยู่ตำแหน่งด้านล่างทำให้มีอัตราการเปลี่ยนแปลงองศาการโน้มตัวไปด้านหน้าที่ต่ำกว่าในกรณีของการวิ่ง ซึ่งแตกต่างจากการเดินที่อัตราการเปลี่ยนแปลงองศาการโน้มตัวไปด้านหน้าที่จะสูงกว่า

Melamine fluorescent sensors from naphthalimide-cyanuric acid conjugates

The development of melamine sensors is an important research theme because contaminating melamine in dairy products or infant powder is toxic to human health, especially for babies. In this research, five novel fluorescent sensors (F1 to F5) containing a 1,8-naphthalimide fluorophore and cyanuric moiety as melamine receptor are designed and successfully synthesized. All target compounds are characterized by 1H and 13C-NMR, High Resolution Mass Spectrometry, and Elemental Analysis. The photophysical properties are investigated by UV-Vis...

Automatic oil palm detection and identification from aerial images using multi-scale clustering and normalized cross correlation

Oil palm cultivation is one of the most important occupation in South East Asia. Since oil palm plantation covers the wide range of areas, it is very difficult to count the numbers of oil palms manually. This thesis presents the new methods to detect and identify an individual of oil palms in plantation areas from aerial images regardless of their sizes using features including shape and texture. The proposed methods can handle the problem of...

Molecular basis of phenotypic variability in paediatric patients with Haemoglobin E/bata Thalassaemia /

ผลการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดยใช้ปัญหาเป็นฐานและทฤษฎีประมวลสารสนเทศทางสังคมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางโลกออนไลน์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางโลกออนไลน์ ก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองและของนักเรียนกลุ่มควบคุม 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางโลกออนไลน์ หลังการทดลองระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองกับนักเรียนกลุ่มควบคุม ตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 70 คน โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย กรุงเทพมหานคร แบ่งเป็นนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดยใช้ปัญหาเป็นฐานและทฤษฎีประมวลสารสนเทศทางสังคม จำนวน 35 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาแบบปกติ จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและทฤษฎีประมวลสารสนเทศทางสังคม จำนวน 8 แผน แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางโลกออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่า “ที” ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และความสามารถในการแก้ปัญหาพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางโลกออนไลน์หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และความสามารถในการแก้ปัญหาพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางโลกออนไลน์หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และความสามารถในการแก้ปัญหาพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางโลกออนไลน์หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

การวิเคราะห์ความเค้นของฟันที่มีการอุดหรือการครอบโดยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์

วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอการสร้างแบบจำลองโครงสร้างฟันดีและแบบจำลองฟันที่ผ่านการรักษาคลองรากฟันแล้วบูรณะด้วยการอุดและการครอบฟัน โดยสร้างแบบจำลองมาจากการสแกนฟันด้วยวิธีภาพถ่ายคอมพิวเตอร์ (CT scan) แล้วนำไฟล์สแกนมาปรับเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบของแข็งก่อนที่จะนำไปวิเคราะห์หาความเค้นของฟันด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ การศึกษาในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังต่อไปนี้ การศึกษาที่หนึ่งเป็นการศึกษาแบบจำลองเอ็นยึดปริทันต์ โดยศึกษาผลของการมีและไม่มีชั้นเอ็นยึดปริทันต์ในแบบจำลอง จากการศึกษาพบว่าควรมีการรวมชั้นเอ็นยึดปริทันต์ไว้ในแบบจำลองเพื่อให้ได้ผลการจำลองที่แม่นยำขึ้น การศึกษาที่สองเป็นการศึกษาความเค้นในฟันที่ผ่านการรักษาคลองรากฟันแล้วบูรณะด้วยการอุดของแบบจำลองของฟันกรามน้อยส่วนล่างของฟันแท้ ซึ่งเปรียบเทียบเทคนิคในการอุดที่ต่างกันและวัสดุที่ใช้อุดฟัน 2 ชนิดที่ต่างกันคือ อะมัลกัม (amalgam) และ มัลติคอร์ (multicore) พบว่าความเค้นในตัวฟันและในวัสดุอุดที่เป็นอะมัลกัมมีค่าสูงกว่าแบบจำลองอื่น ๆ และแบบจำลองที่มีเดือยฟันมีความเค้นต่ำกว่าแบบจำลองอื่น ๆ การศึกษาสุดท้ายเป็นแบบจำลองการครอบฟันของฟันกรามส่วนล่างของฟันน้ำนมที่มีการสร้างแกนฟันด้วยวัสดุต่างกัน จากการศึกษาพบว่าแบบจำลองที่มีแกนฟันเป็นกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ (Glass ionomer cement: GIC) มีความเค้นสูงกว่าแบบจำลองที่มีแกนฟันเป็นมัลติคอร์ การศึกษานี้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการศึกษาโดยการทดลองทางด้านทันตกรรม การเลือกรูปแบบและวัสดุในการบูรณะ และช่วยในการพัฒนาการบูรณะฟันโดยการอุดและการครอบฟันต่อไป

การออกแบบตัวควบคุมพีไอดีสำหรับกระบวนการควบคุมอุณหภูมิที่มีการประยุกต์ใช้งานเชิงอุตสาหกรรม

วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอการพัฒนาตัวควบคุมพีไอดีสำหรับระบบควบคุมอุณหภูมิ โดยเริ่มต้นนำเสนอการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของระบบถ่ายเทความร้อนด้วยแบบจำลองชนิดพารามิเตอร์สี่ตัวที่พิจารณาผลของเวลาประวิงชนิดขนส่ง พร้อมทั้งแสดงการหาพารามิเตอร์ต่างๆของแบบจำลองดังกล่าว ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าแบบจำลองที่สร้างขึ้นให้ผลตอบสนองที่มีความแม่นยำใกล้เคียงกับกระบวนการจริง ในลำดับถัดมาได้นำเสนอการออกแบบอัตราขยายตัวควบคุมพีไอดีที่รองรับกับโครงสร้างของแบบจำลองสี่พารามิเตอร์ที่มีค่าเวลาประวิงยาวนาน จากการศึกษาเชิงเปรียบเทียบผลตอบสนองด้วยวิธีออกแบบอัตราขยายแบบต่างๆ อาทิเช่น วิธีของซิกเกลอ-นิโคล วิธีของเชน-ฮรอนเนส-เรสวิก และวิธีของฮาลมาน พบว่าการออกแบบด้วยวิธีของฮาลมาน ให้ผลตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าอุณหภูมิคำสั่งแบบขั้นและผลตอบสนองต่อโหลดรบกวนภายนอกที่ดี หลังจากนั้นงานวิจัยนี้ได้นำเสนอวิธีการปรับค่าอัตราขยายของตัวควบคุมพีไอดีแบบออนไลน์ตามค่าอุณหภูมิของจุดทำงานต่างๆ ที่ค่าเวลาประวิงมีการเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ เพื่อให้ได้ผลตอบสนองที่ดียิ่งขึ้นสำหรับจุดทำงานในช่วงกว้าง ผลการทดลองกับระบบควบคุมอุณหภูมิในช่วง 90°C – 150°C ที่ขนาดพิกัดของตัวทำความร้อน 590 W ให้ผลตอบสนองที่สอดคล้องกับแนวคิดทางทฤษฎีที่ได้ประยุกต์ใช้

แบบจำลองการหาค่าอุณหภูมิเฉลี่ยในชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม AQUA เพื่อประมาณค่าปริมาณไอน้ำในบรรยากาศจากข้อมูล GNSS สำหรับประเทศไทย

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้แสดงการหาแบบจำลองค่าอุณหภูมิเฉลี่ยในชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์จากข้อมูลดาวเทียม AQUA ด้วยกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในการประมาณค่าพารามิเตอร์จากวิธี Extended Kalman Filter (EKF) เพื่อประมาณค่าปริมาณไอน้ำในบรรยากาศ (Precipitable Water Vapor, PWV) จากสถานี GNSS Continuously Operating Reference Station (CORS) ในประเทศไทย ในกระบวนการศึกษาประการแรก นำข้อมูลของ Atmospheric Infrared Sounder (AIRS) และ Advanced Microwave Sounding Unit (AMSU) จากดาวเทียม NASA's Aqua satellite (Aqua) ประมวลผลด้วยกระบวนการประมาณค่าพารามิเตอร์ของแบบจำลองค่าอุณหภูมิเฉลี่ย (Mean Temperature, Tm) จากวิธีการประมวลผลแบบ EKF โดยในงานวิจัยจะแบ่งพื้นที่ออกเป็นระดับระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และ 11 สถานี COR ทั่วประเทศ กระบวนการศึกษาประการที่สอง นำแบบจำลองค่าอุณหภูมิเฉลี่ยท้องถิ่นที่ได้นำไปประมาณค่าปริมาณไอน้ำในบรรยากาศจากข้อมูล GNSS ที่ได้จากการคำนวณการประมาณค่าคลาดเคลื่อนในชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ (Zenith Total Delay, ZTD) ด้วยกระบวนการรังวัดจุดเดี่ยวความแม่นยำสูง (Precise Point Positioning, PPP) โดยมีค่าปริมาณไอน้ำในบรรยากาศอ้างอิงที่ได้จากเครื่องรับ AIRS และ AMSU จากดาวเทียม Aqua จากการศึกษาพบว่า การหารูปแบบจำลองค่าอุณหภูมิเฉลี่ยท้องถิ่นเพื่อประมาณค่าปริมาณไอน้ำในบรรยากาศจากข้อมูล GNSS สามารถนำไปประมาณค่าปริมาณไอน้ำในบรรยากาศที่มีความแม่นยำได้ในระดับบางสถานี ได้แก่ สถานี...

ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้โบซูบอลที่มีต่อการทรงตัวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้โบซูบอลที่มีผลต่อการทรงตัว และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ก่อนและหลังการทดลอง เป็นวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีกลุ่มตัวอย่างเพียงหนึ่งกลุ่ม โดยเลือกนักเรียนที่มีความบกพร่องการได้ยิน โรงเรียนโสตศึกษาทุ่งมหาเมฆ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 9 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ทำการเปรียบเทียบผลการทดลอง จากการทดสอบก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 ผู้วิจัยทำการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่ได้จากการทดลองตลอดระยะเวลา 8 สัปดาห์ ไปวิเคราะห์ในเชิงสถิติโดยใช้โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนภายในกลุ่มชนิด (Repeated Measures ANOVA ) และบรรยายเพื่อสรุปผลของการดำเนินการวิจัยผลการวิจัยพบว่า สมรรถภาพทางด้านการทรงตัวอยู่กับที่สำหรับการวัด 3 ครั้ง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, F(2, 16) = 20.60, p < .001 เมื่อเปรียบเทียบภายหลังด้วยวิธี bonferroni พบว่า ผลของการทดสอบสมรรถภาพทางด้านการทรงตัวอยู่กับที่สัปดาห์ที่8 มากกว่า ก่อนการทดลองสัปดาห์ที่1 และสัปดาห์ที่4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อีกทั้งผลการทดสอบสมรรถภาพทางด้านการทรงตัวอยู่กับที่สัปดาห์ที่4 มากกว่าก่อนการทดลองสัปดาห์ที่1 อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติสมรรถภาพทางด้านการทรงตัวขณะเคลื่อนที่เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบค่าความแตกต่างทางสถิติ พบว่า สัปดาห์ที่8 มากกว่า ก่อนการทดลองสัปดาห์ที่1 และสัปดาห์ที่4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อีกทั้งผลการทดสอบสมรรถภาพทางด้านการทรงตัวขณะเคลื่อนที่สัปดาห์ที่4 มากกว่าก่อนการทดลองสัปดาห์ที่1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสมรรถภาพทางด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสำหรับการทดสอบ 3 ครั้ง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, F(2, 16) = 13.86, p < .001 เมื่อเปรียบเทียบภายหลังด้วยวิธี bonferroni พบว่า ผลของการทดสอบสมรรถภาพทางด้านการความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสัปดาห์ที่8...

ผลการใช้รูปแบบการสอนการเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์ของคูรัลและโคคาคูลาที่มีต่อมโนทัศน์ทางเคมีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบทดลองเบื้องต้น แบบการวิจัยกลุ่มเดียววัด 2 ครั้ง เทียบเกณฑ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคะแนนเฉลี่ยมโนทัศน์ทางเคมีหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนการเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์ของคูรัลและโคคาคูลาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ 2) ศึกษาร้อยละของจำนวนนักเรียนที่มีการพัฒนามโนทัศน์ทางเคมีหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนการเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์ของคูรัลและโคคาคูลา และ 3) ศึกษามโนทัศน์ทางเลือกในเรื่อง เคมีอินทรีย์ ของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนการเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์ของคูรัลและโคคาคูลา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ ในจังหวัดแพร่ จำนวน 42 คน ใช้เวลาในการทำวิจัย 2 เดือน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ 8 แผน รวม 24 คาบ และแบบวัดมโนทัศน์ทางเคมี 12 ข้อ ครอบคลุมการวัด 12 มโนทัศน์ กำหนดเกณฑ์โดยใช้สัมประสิทธิ์ฟี (Ø)ผลการวิจัยพบว่า1) หลังเรียนเคมีด้วยรูปแบบการสอนการเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์ของคูรัลและโคคาคูลา คะแนนเฉลี่ยมโนทัศน์ทางเคมีของนักเรียนสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .052) หลังเรียนเคมีด้วยรูปแบบการสอนการเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์ของคูรัลและโคคาคูลา พบว่า นักเรียนที่มีพัฒนาการสูงขึ้นเท่ากับ ร้อยละ 52.58 ส่วนนักเรียนที่พัฒนาการลดลงเท่ากับ ร้อยละ 38.49 และนักเรียนที่ไม่มีพัฒนาการการเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์เท่ากับ ร้อยละ 8.933) หลังเรียนเคมีด้วยรูปแบบการสอนการเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์ของคูรัลและโคคาคูลา พบว่า มโนทัศน์เดียวที่นักเรียนมีมโนทัศน์ทางเลือกก่อนเรียน แต่ไม่พบมโนทัศน์ทางเลือกหลังเรียน คือ ความหมายของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน แต่อย่างไรก็ตามมโนทัศน์อื่นๆ ยังพบมโนทัศน์ทางเลือกหลังเรียนอยู่ซึ่งมีลักษณะเป็นหลักการหรือขั้นตอนของการอ่านชื่อสารประกอบอินทรีย์และกระบวนการเปลี่ยนแปลงของปฏิกิริยาเคมี

The Development of Online Training Modules and Internet of things on Vehicle Air Conditioner

Naresuan University Journal: Science and Technology, 29, 1, 50-59

Registration Year

  • 2021
    22,877

Resource Types

  • Dataset
    17,719
  • Text
    5,158