22,877 Works
Effect of Water Quality on the Abundance of Firefly Populations at Cherating River, Pahang, Malaysia
, , Nurul Wahida Othman &
EnvironmentAsia, 14, 1, 69-79
ผลของอุณหภูมิและขนาดต่อการเปลี่ยนสารประกอบแคลเซี่ยมคาร์บอเนตเป็นแคลเซี่ยมออกไซด์
การผลิตปูนขาวคือกระบวนการที่นำหินปูนมาทำการเผาเพื่อเปลี่ยนโครงสร้างภายในของหินปูนซึ่งมีสารประกอบแคลเซี่ยมคาร์บอเนต(CaCO3)เป็นองค์ประกอบหลักให้เป็นปูนขาวหรือสารประกอบแคลเซี่ยมออกไซด์(CaO) แต่ผลของขนาดมิติของหินปูนมีผลต่อการเกิดสารประกอบแคลเซี่ยมออกไซด์และค่ากากตะกอนแข็ง(ร้อยละของgrit)ที่ได้ต่างกันที่การเผาในแต่ละอุณหภูมิต่างกัน ซึ่งหากนำหินปูนที่ขนาดมิติที่ต่างกันมาเผาที่อุณหภูมิเดียวกัน จะก่อให้เกิดปัญหาต่อกระบวนการผลิตปูนขาวได้ โดยหินปูนที่นำมาศึกษาเป็นหินปูนขนาด 2 – 6 นิ้ว โดยทำการเผาหินดังกล่าว 2 ส่วนการทดลอง โดยส่วนการทดลองที่1 นำหินขนาด 2 - 6 นิ้วมาเผาที่อุณหภูมิ 850 - 1,050องศาเซลเซียส เพื่อหาช่วงของอุณหภูมิที่ทำให้เกิดเป็นสารประกอบแคลเซี่ยมออกไซด์ได้ร้อยละ 90ของแคลเซี่ยมออกไซด์พบว่าที่อุณหภูมิ 1,000 องศาเซลเซียสหินปูนขนาด 2 - 3 นิ้วสามารถเกิดเป็นสารประกอบ แคลเซี่ยมออกไซด์ได้ร้อยละ 90 ของแคลเซี่ยมออกไซด์และที่อุณหภูมิ 1,050องศาเซลเซียสหินปูนขนาด 2 - 6 นิ้วสามารถเกิดสารประกอบแคลเซี่ยมออกไซด์ได้ร้อยละ 90 ซึ่งจากผลดังกล่าวจึงเลือกช่วงอุณหภูมิดังกล่าวมาทำการทดลองต่อในส่วนการทดลองที่ 2 โดยเลือกทดลองที่อุณหภูมิ 1,010 – 1,050 องศาเซลเซียสพบว่าที่อุณหภูมิ 1,040 องศาเซลเซียสหินปูนทุกขนาดที่นำมาทดลองสามารถเกิดเป็นสารประกอบแคลเซี่ยมออกไซด์ได้ร้อยละ 90ของแคลเซี่ยมออกไซด์และนอกจากนี้พบว่าเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นค่าร้อยละของGrit มีค่าลดต่ำลง
การผลิต โครงสร้าง และสมบัติทางกลของวัสดุผสมที่มีเฟสชนิดเชื่อมต่อกัน
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการผลิตวัสดุผสม IPCs โดยใช้โฟมอะลูมิเนียมบริสุทธิ์ และโฟมอะลูมิเนียมผสมเกรด ADC 12 ที่ผลิตด้วยกรรมวิธีหล่อแบบพอกหุ่น กระบวนการผลิตจะใช้โฟมโพลียูรีเทนที่มีโครงสร้างโพรงอากาศแบบเปิดขนาด12 ppi และ 8 ppi เพื่อผลิตโฟมอะลูมิเนียม และผลิตวัสดุผสม IPCs ระหว่างโฟมอะลูมิเนียมบริสุทธิ์ และโฟมอะลูมิเนียมผสมเกรด ADC 12 กับพอลิเมอร์ชนิดต่างๆได้แก่ ยางพารา ซิลิโคน Epoxy resin และพอลิเอทิลีน โดยทำการตรวจสอบโครงสร้างจุลภาค และการรับแรงอัดของวัสดุผสม IPCs โดยใช้ความเร็วในการอัด 2 mm/min และ 50 mm/min ผลการวิจัยพบว่ากระบวนการนี้สามารถผลิตโฟมอะลูมิเนียมบริสุทธิ์ และโฟมอะลูมิเนียมผสมเกรด ADC 12 ได้ทุกขนาดโพรงอากาศ และสามารถผลิตวัสดุผสม IPCs ระหว่างโฟมอะลูมิเนียมบริสุทธิ์ และโฟมอะลูมิเนียมผสมเกรด ADC 12 กับพอลิเมอร์ชนิดต่างๆ โครงสร้างจุลภาคของวัสดุผสม IPCs ที่ใช้ยางพาราพบรอยแยกบริเวณผิวสัมผัส เช่นเดียวกับซิลิโคน โครงสร้างจุลภาคของวัสดุผสม IPCs ที่ใช้ Epoxy resin ไม่พบรอยแยกบริเวณผิวสัมผัสเช่นเดียวกับวัสดุผสม IPCs ที่ใช้พอลิเอทิลีน สมบัติทางกลของวัสดุผสม IPCs เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับโฟมอะลูมิเนียม โดยขึ้นอยู่กับชนิดของพอลิเมอร์ที่ใช้ผลิตวัสดุ IPCs แต่ไม่ขึ้นกับชนิดของโฟมอะลูมิเนียมที่ใช้ผลิตวัสดุ IPCs โครงสร้าง และขนาดของโพรงอากาศ วัสดุผสม IPCs ที่ใช้ยางพารา และ Epoxy resin จะมีค่าความเค้นจุดคราก และการดูดซับพลังงานที่ลดลงเมื่อเปรียบเทียบพอลิเมอร์ที่ใช้...
การนำกลับฟอสฟอรัสในรูปผลึกสตรูไวท์จากสลัดจ์รีดน้ำ
งานวิจัยนี้ได้ศึกษาวิธีการนำฟอสฟอรัสกลับคืนโดยการตกผลึกในรูปสตรูไวท์จากสลัดจ์ที่ผ่านการรีดน้ำแล้ว ฟอสฟอรัสในสลัดจ์สามารถเปลี่ยนรูปเป็นสตรูไวท์ที่มีมูลค่าโดยผ่านกระบวนการชะละลายด้วยสารละลายกรดและกระบวนการตกผลึกทางเคมี ผลการทดลองพบว่า เถ้าสลัดจ์จากระบบบำบัดน้ำเสียฟาร์มสุกรมีปริมาณฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบปริมาณมาก ประมาณร้อยละ 13 โดยน้ำหนัก ซึ่งมากกว่าเถ้าสลัดจ์จากระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนที่พบปริมาณฟอสฟอรัสเพียงร้อยละ 6 โดยน้ำหนัก ประสิทธิภาพการชะละลายฟอสฟอรัสในเถ้าสลัดจ์จากระบบบำบัดน้ำเสียฟาร์มสุกรจะสูงถึงร้อยละ 99.9 เมื่อชะละลายด้วยสารละลายกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น 1 โมลาร์ ที่อัตราส่วนของสารละลายกรดต่อเถ้าสลัดจ์ 50 มิลลิลิตรต่อกรัม และระยะเวลาในการชะลาย 2 ชั่วโมง สภาวะที่เกิดผลึกมากที่สุด คือ ที่อัตราส่วนโดยโมลของแมกนีเซียมต่อแอมโมเนียมต่อฟอสเฟตเท่ากับ 2:1:1 และพีเอชเท่ากับ 10 ซึ่งมีผลึกเกิดขึ้น 0.4138 กรัมต่อเถ้าสลัดจ์ 500 มิลลิกรัม และสามารถนำฟอสฟอรัสกลับคืนได้ร้อยละ 90.16 และเมื่อนำโปรแกรมแบบจำลองสมดุลทางเคมี Visual MINTEQ Version 3.0 มาใช้ในการคำนวณสภาวะที่เกิดผลึกสตรูไวท์มากที่สุดคือ ที่อัตราส่วนโดยโมลของแมกนีเซียมต่อแอมโมเนียมต่อฟอสเฟตเท่ากับ 1.6:1:1 และพีเอชเท่ากับ 9 เกิดผลึกสตรูไวท์น้ำหนัก 0.44 กรัมต่อเถ้าสลัดจ์ 500 มิลลิกรัม ดังนั้นวิธีการชะละลายด้วยกรดและการตกผลึกในรูปสตรูไวท์สามารถใช้ในการบำบัดสลัดจ์และนำฟอสฟอรัสกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสลัดจ์ฟาร์มสุกรที่ผ่านการรีดน้ำแล้วถือเป็นแหล่งฟอสฟอรัสทดแทนที่มีศักยภาพอีกแหล่งหนึ่ง
อุปกรณ์ติดตั้งที่ศีรษะเพื่อเพิ่มศักยภาพในการมองเห็นของการทำงานของระบบหุ่นยนต์นำ-หุ่นยนต์ตาม
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอการออกแบบและควบคุมระบบหุ่นยนต์แบบนำ-ตาม โดยใช้สัญญาณที่มาจากอุปกรณ์สวมใส่ศีรษะส่งไปควบคุม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาอุปกรณ์สวมใส่ศีรษะเพื่อเพิ่มมุมมองการมองเป้าหมายผ่านกล้องที่ติดตั้งบนแขนกล โดยใช้แขนกลแบบพิกัดทรงกลมในการแก้ปัญหาของการเพิ่มมุมมองภาพ แล้วใช้แขนกลชนิดนี้แบบอนุกรม 2 ก้านต่อและอุปกรณ์ที่ติดกับศีรษะในการพัฒนาระบบควบคุม โดยเริ่มจากการคำนวณสมการจลศาสตร์และพลศาสตร์ของโครงสร้าง แต่เนื่องจากมีสัญญาณรบกวนออกจากอุปกรณ์ตรวจวัด อีกทั้งแบบจำลองของระบบไม่ถูกต้องแม่นยำจึงใช้ ระบบควบคุมแบบ Inverse Dynamics ที่เป็นระบบควบคุมอีกระบบหนึ่งที่มีประสิทธิภาพ รวมกับตัวกรองความถี่ต่ำผ่านในการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้น สำหรับการทดลองได้สร้างแขนกลที่ออกแบบไว้แล้วติดกล้องอัตราขยายสูงแบบดิจิทัลไว้ที่ปลายแขนกับอุปกรณ์สวมใส่ศีรษะสำหรับทดสอบ โดยแบ่งออกเป็นสองส่วนคือส่วนที่ให้แขนกลเคลื่อนที่ตามเส้นทางการเคลื่อนที่ที่กำหนดและอีกส่วนหนึ่งคือทำการทดลองใช้งานควบคู่กับแขนกล 6 องศาอิสระ สำหรับงานขนาดเล็ก (RCRT-1) โดยได้ผลว่า ระบบควบคุมสามารถทำให้แขนกลเคลื่อนที่ในตำแหน่งและทิศทางที่กำหนด ด้วยความผิดพลาดที่ต่ำ และสามารถทำงานในฐานะระบบภาพของระบบร่วมกับ RCRT-1 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ RCRT-1 เคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งที่ผู้ใช้งานกำหนดแม่นยำมากขึ้น
การวิเคราะห์สถานการณ์การขนส่งถ่านหินภายในประเทศไทย
เพื่อตอบสนองต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น กระทรวงพลังงานผ่านการจัดทำแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558-2579 หรือ PDP2015 กำหนดให้เพิ่มโรงไฟฟ้าจากถ่านหิน หากเป็นตามแผนในปี พ.ศ. 2578 โรงผลิตไฟฟ้ารวมต้องการถ่านหินเพื่อเป็นเชื้อเพลิงมากถึงปีละ 20 ล้านตัน ปริมาณถ่านหินชนิดซับบิทูมินัสและบิทูมินัสดังกล่าวสะท้อนความท้าทายในการกำหนดกลยุทธ์การขนส่งถ่านหิน ซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศและขนส่งไปยังโรงไฟฟ้าถ่านหินด้วยค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ที่สามารถแข่งขันได้ในขณะเดียวกันต้องสร้างภาระกับระบบขนส่งสาธารณะและกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด นอกจากความท้าทายด้านโลจิสติกส์แล้วแผนดังกล่าวถูกกระทบด้วยการตรวจสอบของชุมชนและแรงกดดันทางการเมืองทำให้อาจเกิดการเลื่อนหรือการยกเลิกการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน เพื่อนำเสนอถึงความไม่แน่นอนนี้ แบบจำลองคณิตศาสตร์เชิงเส้นแบบผสมเชิงคงทนจึงถูกประยุกต์เพื่อเลือกรูปแบบการขนส่งและตำแหน่งจุดเปลี่ยนถ่ายการขนส่งที่เหมาะสม นอกจากนี้แบบจำลองยังช่วยนำเสนอพารามิเตอร์หลักที่ส่งผลกับแผนการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน อาทิเช่น ความต้องการถ่านหิน และตำแหน่งจุดเปลี่ยนถ่ายการขนส่ง
การกำจัดเบนซีนออกจากแก๊สปล่อยทิ้งด้วยตัวเร่งปฏิกิริยา V2O5-Co3O4/TiO2, V2O5/TiO2, และ Co3O4/TiO2
ในงานวิจัยนี้มีการกำจัดเบนซีนด้วยตัวเร่งปฏิกิริยา V2O5-Co3O4/TiO2, V2O5/TiO2, และ Co3O4/TiO2 ที่บรรจุอยู่ในเครื่องปฏิกรณ์แบบเบดนิ่ง ตัวเร่งปฏิกิริยาถูกเตรียมด้วยวิธีเคลือบฝังแบบเปียก (wet impregnation) และวิเคราะห์ลักษณะของตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยเทคนิค ICP, single point BET, NH3-TPD, และการดูดซับไพรีดีน การศึกษาความสามารถในการเกิดปฏิกิริยา แบ่งการทดลองออกเป็น 2 ระบบ ระบบแรกเป็นการศึกษาปฏิกิริยาการออกซิไดซ์เบนซีนแยกกับปฏิกิริยา Selective Catalytic Reduction (SCR) และระบบที่สองเป็นการศึกษาปฏิกิริยาการออกซิไดซ์เบนซีนร่วมกับปฏิกิริยา SCR โดยทั้งสองระบบทำการทดลองในช่วงอุณหภูมิตั้งแต่ 120ºC ถึง 450ºC ผลการทดลองพบว่าตัวเร่งปฏิกิริยา V2O5/TiO2 แม้ว่ามีความสามารถในการกำจัด NO และเบนซีนที่สูง แต่มีค่าการเลือกเกิด CO2 ไม่สูง ส่วนตัวเร่งปฏิกิริยา Co3O4/TiO2 นั้นมีความสามารถในการกำจัดเบนซีนและค่าการเลือกเกิด CO2 ที่สูงแต่สามารถกำจัด NO ได้ไม่ดี ในกรณีของตัวเร่งปฏิกิริยา V2O5-Co3O4/TiO2 นั้นพบว่าช่วงอุณหภูมิที่ให้ความสามารถในการกำจัด NO นั้นกว้างขึ้นและยังมีค่าการเลือกเกิด CO2 ที่สูงในช่วงอุณหภูมินี้ด้วย
การพัฒนากระบวนการไฮบริดไฮโดรไซโคลนและการดูดซับด้วยถ่านกัมมันต์ชนิดเกล็ด เพื่อใช้ในการบำบัดสีที่เกิดจากลิกนินในอุตสาหกรรมการผลิตกระดาษ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาความเป็นไปได้ในการนำระบบไฮบริดไฮโดรไซโคลนและการดูดซับด้วยถ่านกัมมันต์ชนิดเกล็ดมาใช้ในการกำจัดสีจากลิกนินในอุตสาหกรรมการผลิตกระดาษ ในงานวิจัยนี้ได้ใช้อัลคาไลน์ลิกนินเป็นตัวแทนของสี โดยทำการศึกษาพารามิเตอร์ที่ส่งผลต่อความสามารถในการดูดซับสีจากอัลคาไลน์ลิกนินของถ่านกัมมันต์ชนิดเกล็ดและการแยกถ่านกัมมันต์ชนิดเกล็ดโดยใช้ไฮโดรไซโคลนผลการศึกษาพบว่าสภาวะที่เหมาะสมต่อการทำงานของระบบไฮบริดในงานวิจัยนี้ คือ ใช้ถ่านกัมมันต์ชนิด Filtrasorb200 ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของถ่านกัมมันต์ 30x35 เมช ในการดูดซับอัลคาไลน์ลิกนิน และการดูดซับสอดคล้องกับฟรุนดลิชไอโซเทอม ในส่วนของการแยกถ่านกัมมันต์พบว่า ควรใช้ไฮโดรไซโคลนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 30 มิลลิเมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางทางออกด้านล่าง 6 มิลลิเมตร ที่ความดันจ่ายเข้าไฮโดรไซโคลน 0.5 บาร์ ถึงแม้ว่าการแตกของถ่านกัมมันต์ในระบบไฮโดรไซโคลนจะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการแยกถ่านกัมมันต์ชนิดเกล็ดของไฮโดรไซโคลนนั้นลดลง แต่ประสิทธิภาพในการแยกยังคงสูงถึง ร้อยละ 95 ซึ่งเมื่อนำสภาวะที่เลือกดังกล่าวไปเดินระบบไฮบริดไฮโดรไซโคลนและการดูดซับด้วยถ่านกัมมันต์ชนิดเกล็ดแบบไหลต่อเนื่อง (Continuous operating) พบว่า เมื่อพิจารณาประสิทธิภาพของระบบในด้านการดูดซับอัลคาไลน์ลิกนิน ระบบสามารถกำจัดความเข้มข้นของอัลคาไลน์ลิกนินในน้ำเสียสังเคราะห์ให้ลดลงได้ โดยที่อัตราการไหลของน้ำเสียสังเคราะห์ 0.5 ลิตรต่อนาที ต้องการอัตราการไหลตัวกลางดูดซับมากกว่า 16.6 กรัมต่อนาที ถึงจะบำบัดน้ำเสียให้ความเข้มข้นของอัลคาไลน์ลิกนินเหลือน้อยกว่า 50 มิลลิกรัมต่อลิตร ดังนั้นจึงสามารถสรุปในขั้นต้นได้ว่า ระบบไฮบริดไฮโดรไซโคลนและการดูดซับด้วยถ่านกัมมันต์ชนิดเกล็ดสามารถใช้ในการกำจัดอัลคาไลน์ลิกนินได้
การดูดซึมก๊าซด้วยเมมเบรนคอนแทคเตอร์แบบเส้นใยกลวงในด้านสมบัติทางกายภาพและตัวแปรการถ่ายเทมวลสาร
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพการถ่ายเทมวลสารจากเฟสก๊าซไปยังเฟสของเหลวในระบบเมมเบรนคอนแทคเตอร์แบบเส้นใยกลวง เฟสของเหลวคือน้ำประปาในการดูดซึมก๊าซออกซิเจนและน้ำปราศจากไอออนในการดูดซึมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยศึกษาสภาวะการเดินระบบที่เหมาะสม เช่น ขนาดรูพรุนเฉลี่ย อัตราการไหลของเฟสก๊าซ อัตราการไหลของเฟสของเหลว จำนวนเส้นเมมเบรน ความเข้มข้นของเฟสก๊าซ และผลกระทบของเฟสของเหลวจากการปนเปื้อนความขุ่นและสารลดแรงตึงผิวที่มีประจุบวก ประจุลบ และไม่มีประจุ เพื่อนำมาสร้างโมเดลอธิบายปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในการเดินระบบทั้งการดูดซึมก๊าซออกซิเจนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในการศึกษาลักษณะสัณฐานของเมมเบรน พบว่า เมมเบรนที่มีขนาดรูพรุนอยู่ในช่วง Microfiltration (0.1 ถึง 3 ไมครอน) จะให้ประสิทธิภาพการดูดซึมก๊าซดีกว่าเมมเบรนที่มีขนาดรูพรุนอยู่ในช่วง Ultrafiltration (0.01 ถึง 0.1 ไมครอน) ในการศึกษาค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทมวลรวม (kLa) พบว่า การดูดซึมก๊าซออกซิเจน ค่า kLa จะเพิ่มขึ้นเมื่ออัตราการไหลของเฟสของเหลวและจำนวนเส้นเมมเบรนในระบบเพิ่มขึ้น แต่ค่า kLa จะลดลงเมื่อมีสารลดแรงตึงผิวและความขุ่นปนเปื้อนในเฟสของเหลว ในการดูดซึมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ค่า kLa เพิ่มขึ้นเมื่ออัตราการไหลของเฟสของเหลวและความเข้มข้นเริ่มต้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเฟสของเหลวคือสารละลายโซเดียมคาร์บอเนตจะส่งผลให้ค่า kLa เพิ่มสูงขึ้นถึง 120 เปอร์เซนต์ในการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนมวลสารระหว่างระบบเมมเบรนคอนแทคเตอร์และหอดูดซึมแบบฟองอากาศ พบว่า ระบบเมมเบรนคอนแทคเตอร์มีประสิทธิภาพที่สูงกว่าหอดูดซึมแบบฟองอากาศ เนื่องจากมีพื้นที่ในการถ่ายเทมวลสารมากกว่าในขนาดการติดตั้งระบบที่เท่ากัน ทำให้ระบบเมมเบรนคอนแทคเตอร์มีความน่าสนใจที่จะนำมาทดแทนอุปกรณ์ในการดูดซึมแบบดั้งเดิมและหอดูดซึมแบบฟองอากาศ
ผลการจัดกิจกรรมมิติสัมพันธ์ที่มีต่อทักษะการวาดภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมมิติสัมพันธ์ที่มีต่อทักษะการวาดภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นการจัดกิจกรรมโดยใช้รูปแบบกิจกรรมที่เน้นการปฏิบัติ สมมติฐานการวิจัยคือ นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมมิติสัมพันธ์จะมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลวัดนางนอง ในเขตกรุงเทพมหานคร ภาคการศึกษาต้น เรียนวิชาศิลปะ นักเรียนทั้งหมด 60 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง จำนวน 30 คนและกลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบการวาดภาพ ก่อนและหลังเรียน 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมมิติสัมพันธ์ 3) แบบวัดเจตคติที่มีต่อการจัดกิจกรรมมิติสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยแบ่งเป็น 2 ด้าน คือ 1) การออกแบบกิจกรรมมิติสัมพันธ์ ซึ่งกิจกรรมมิติสัมพันธ์นี้เป็นการเน้นให้นักเรียนได้ค้นพบความสัมพันธ์ด้วยกระบวนการและกิจกรรมประเภทต่างๆ เช่น การวาดภาพ การวัด การมอง การเปรียบเทียบ และการจำแนกรูปเรขาคณิต ที่เน้นการสำรวจ การตั้งข้อสังเกต การสืบเสาะกิจกรรมศิลปะ 3 มิติเป็นกิจกรรมหนึ่งที่จะช่วยให้เด็กได้สำรวจ ค้นคว้า ทดลอง โดยใช้วัสดุต่างๆ นอกจากนี้ยังเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ รวมถึงเป็นการส่งเสริมการสังเกตสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว 2) ผลของการทำกิจกรรมมิติสัมพันธ์ที่ใช้ในการวิจัยทั้ง 2 หัวข้อ พบว่า กิจกรรมการวาดภาพโต๊ะ นักเรียนมีคะแนนแบบทดสอบวาดภาพของกลุ่มทดลองหลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุม โดยมีค่า t...
ผลของการใช้รูปแบบการสะท้อนคิดที่แตกต่างกันผ่านบล็อกในการเรียนแบบผสมผสานตามหลักการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่มีต่อความสามารถในการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาด้านสื่อสารมวลชน
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการสะท้อนคิดผ่านบล็อกแบบมีรูปแบบในการเรียนแบบผสมผสานตามหลักการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่มีต่อความสามารถในการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาด้านสื่อสารมวลชน 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาด้านสื่อสารมวลชนที่เรียนแบบผสมผสานตามหลักการเรียนรู้จากประสบการณ์ กลุ่มที่ใช้การสะท้อนคิดผ่านบล็อกแบบมีรูปแบบกับกลุ่มที่ใช้การสะท้อนคิดผ่านบล็อกแบบไม่มีรูปแบบ 3) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมในการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาด้านสื่อสารมวลชนที่เรียนแบบผสมผสานตามหลักการเรียนรู้จากประสบการณ์ กลุ่มที่ใช้การสะท้อนคิดผ่านบล็อกแบบมีรูปแบบกับกลุ่มที่ใช้การสะท้อนคิดผ่านบล็อกแบบไม่มีรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (ศูนย์เทเวศร์) จำนวน 55 คน เป็นกลุ่มที่ใช้การสะท้อนคิดแบบมีรูปแบบ (กลุ่มทดลอง) จำนวน 25 คนและกลุ่มที่ใช้การสะท้อนคิดแบบไม่มีรูปแบบ (กลุ่มควบคุม) จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนการสอน 2) ระบบการจัดการเรียนรู้ (LMS) และเครื่องมือในการสะท้อนคิดผ่านบล็อก 3) แบบวัดความสามารถในการทำงานเป็นทีม 4) แบบประเมินพฤติกรรมความสามารถในการทำงานเป็นทีมและเกณฑ์ประเมินพฤติกรรมความสามารถในการทางานเป็นทีม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test for Dependent Sample และ t-test for Independent Sample)ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มสะท้อนคิดแบบมีรูปแบบ (กลุ่มทดลอง) มีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการทำงานเป็นทีมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) กลุ่มที่ใช้การสะท้อนคิดผ่านบล็อกแบบมีรูปแบบกับกลุ่มที่มีการสะท้อนคิดผ่านบล็อกแบบไม่มีรูปแบบ มีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการทำงานเป็นทีมไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) กลุ่มที่ใช้การสะท้อนคิดผ่านบล็อกแบบมีรูปแบบ(กลุ่มทดลอง) มีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมสูงกว่ากลุ่มที่มีการสะท้อนคิดผ่านบล็อกแบบไม่มีรูปแบบ (กลุ่มควบคุม) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
วงปี่ชวากลองแขกประกอบการชกมวยในจังหวัดชลบุรี
งานวิจัยเรื่องนี้มุ่งศึกษาประวัติ พัฒนาการ ลักษณะของวงปี่ชวากลองแขกประกอบการชกมวยในจังหวัดชลบุรี รวมถึงการปรับตัวของนักดนตรีในวงปี่ชวากลองแขกเพื่อความอยู่รอด พบว่าปัจจุบันวงปี่ชวากลองแขกประกอบการชกมวยในจังหวัดชลบุรี มีบรรเลงทั้งสนามมวยชั่วคราวและสนามมวยมาตรฐาน นักดนตรีในวงปี่ชวากลองแขกไม่ปรากฏสายการสืบทอดที่ชัดเจน นักดนตรีส่วนใหญ่เป็นนักดนตรีในวงปี่พาทย์ รวมถึงคนปี่ซึ่งส่วนใหญ่ฝึกหัดเรียนรู้ด้วยตนเองและสืบทอดความรู้ต่อกันมา ส่งผลให้วงปี่ชวากลองแขกประกอบการชกมวยในจังหวัดชลบุรี ไม่มีแบบแผนการบรรเลงที่เคร่งครัด และประสมวงโดยการรวมตัวของนักดนตรีจากวงต่างๆ มีวงปี่ชวากลองแขกที่รับบรรเลงเป็นประจำในสนามมวยชั่วคราว คือวงเจริญศิลป์ ส่วนสนามมวยมาตรฐาน 2 แห่งคือสนามมวยแฟร์เท็กซ์ เทพประสิทธิ์ พัทยาใต้ และสนามมวยหน้าเมืองจำลอง พัทยาเหนือ (Pattaya Boxing World) มีวงจรัญศิลป์บรรเลงประจำ ปัญหารายได้และการจัดการแข่งขันการชกมวยในเชิงธุรกิจซึ่งมีคู่ชกมวยมากขึ้นทำให้นักดนตรีในวงปี่ชวากลองแขกต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ทั้งจำนวนเครื่องดนตรี ผู้บรรเลง และบทเพลง กล่าวคือเครื่องดนตรีในวงแต่เดิมประกอบด้วย ปี่ 1 เลา ฉิ่ง 1คู่ กลองแขก 1 คู่ ก็ปรับลดกลองแขกเหลือ 1 ลูกตามจำนวนคนตีกลองแขกที่เหลือเพียง 1 คน ส่วนการบรรเลงบทเพลงประกอบการชกมวย แม้ยังคงไว้ซึ่งรูปแบบเดิมคือใช้เพลงสรหม่า ประกอบการไหว้ครู ยกที่1บรรเลงเพลงแขกเจ้าเซ็น ยกที่ 5 บรรเลงเชิดช่วง 1 นาทีสุดท้ายก่อนหมดยก แต่ยกที่ 2 ถึง ยกที่ 5 สามารถบรรเลงเพลงอื่นๆได้ขึ้นอยู่กับปฏิภาณไหวพริบของนักดนตรีในการนำเพลงที่ได้รับความนิยมตามยุคสมัยมาบรรเลงเพื่อให้ผู้ชมพอใจ แต่ถ้านักมวยไม่สามารถแข่งต่อได้ให้หยุดการบรรเลงแค่ในยกนั้น
การนำทฤษฎีว่าด้วยนิติกรรมทางปกครองที่อาจแยกฟ้องได้มาใช้ในการพิจารณาคดีปกครองของไทย
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาและวิเคราะห์เกี่ยวกับทฤษฎีว่าด้วยนิติกรรมทางปกครองที่อาจแยกฟ้องได้ซึ่งเป็นทฤษฎีกฎหมายที่เกี่ยวกับการฟ้องคดีเพื่อขอให้ศาลปกครองควบคุมและตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของนิติกรรมทางปกครอง จากการศึกษาพบว่า ระบบกฎหมายปกครองในบางประเทศมีทฤษฎีที่เกี่ยวกับการฟ้องเพิกถอนนิติกรรมทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีผลทำให้ศาลสามารถเข้าไปควบคุมและตรวจสอบนิติกรรมทางปกครองที่เกิดขึ้นในกระบวนการใดกระบวนการหนึ่งที่เกิดขึ้นก่อนการกระทำอื่นซึ่งไม่สามารถนำมาฟ้องร้องหรือไม่อยู่ภายใต้เขตอำนาจของศาลปกครองได้ ส่งผลให้ข้อพิพาทบางเรื่องซึ่งแต่เดิมไม่อาจนำมาฟ้องร้องหรือไม่อยู่ภายใต้เขตอำนาจของศาลปกครองกลายเป็นข้อพิพาทที่สามารถนำไปฟ้องร้องต่อศาลปกครองได้ ดังเช่นทฤษฎีว่าด้วยนิติกรรมทางปกครองที่อาจแยกฟ้องได้ในประเทศฝรั่งเศส หรือทฤษฎีการกระทำสองขั้นตอนในประเทศเยอรมนี ในระบบกฎหมายปกครองไทยได้มีการกล่าวถึงทฤษฎีว่าด้วยนิติกรรมทางปกครองที่อาจแยกฟ้องได้ไว้ในทางวิชาการเช่นกัน และยังเปิดโอกาสให้มีการฟ้องขอให้ศาลปกครองตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายและเพิกถอนนิติกรรมทางปกครองที่สามารถแยกออกจากสัญญาทางปกครองหรือการกระทำอื่น ๆ ได้ โดยผลการศึกษาแนวคำพิพากษาและคำสั่งศาลปกครองในคดีพิพาทบางประเภทนั้น ปรากฏว่า แม้ศาลจะไม่ได้มีการปรับใช้โดยอ้างอิงทฤษฎีดังกล่าวไว้ในคำวินิจฉัยอย่างชัดแจ้งก็ตาม แต่คำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีปกครองหลายคดีก็แสดงให้เห็นว่า ศาลได้ยอมรับลักษณะและการยื่นฟ้องคดีอันมีมูลมาจากนิติกรรมทางปกครองที่สามารถแยกออกจากสัญญาทางปกครองหรือการกระทำอื่น ๆ รวมทั้งได้พิจารณาพิพากษาคดีโดยสอดคล้องและเป็นไปตามทฤษฎีว่าด้วยนิติกรรมทางปกครองที่อาจแยกฟ้องได้ ตลอดจนได้มีการพัฒนาทฤษฎีดังกล่าวในการพิจารณาพิพากษาคดีมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องสัญญาทางปกครอง การกระทำทางรัฐบาล รวมทั้งการบริหารงานบุคคล อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไม่ปรากฏว่ามีการปรับใช้ทฤษฎีดังกล่าวโดยอ้างอิงหรือระบุไว้ในการวินิจฉัยคดีของศาลปกครองอย่างชัดแจ้งแต่ประการใด ประกอบกับคำวินิจฉัยของศาลปกครองที่ผ่านมาก็ยังมิได้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน สภาวการณ์ดังกล่าวจึงทำให้ขาดความชัดเจนในการปรับใช้ทฤษฎีนี้ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลปกครองไทย ดังนั้น ผู้เขียนจึงมีข้อเสนอแนะว่า ในคดีที่ศาลได้วินิจฉัยคดีตามทฤษฎีว่าด้วยนิติกรรมทางปกครองที่อาจแยกฟ้องได้ ศาลย่อมสามารถระบุถึงการนำทฤษฎีนี้มาปรับใช้โดยระบุไว้ชัดแจ้งในคำพิพากษาหรือคำสั่ง และศาลอาจคำนึงถึงหลักกฎหมายอื่นประกอบการปรับใช้ทฤษฎีดังกล่าวได้ อาทิ หลักความมั่นคงแห่งนิติฐานะ หลักการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ ซึ่งในประเด็นนี้ ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดอาจวางหลักในเรื่องดังกล่าวเพื่อให้แนวการวินิจฉัยของศาลเป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อให้ศาลสามารถควบคุมและตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของนิติกรรมทางปกครอง ตลอดจนสามารถอำนวยความยุติธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ความจำเป็นในการมีสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและวิธีการได้มาซึ่งสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงแนวคิด หลักการและเหตุผล ความเป็นมาและความสำคัญในการจัดตั้งองค์กรให้คำปรึกษาด้านเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยวิเคราะห์แนวความคิด ความเป็นมา และการสรรหาสมาชิกขององค์กรที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศฝรั่งเศส ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศอิตาลี ประเทศเกาหลีใต้ และประเทศเบลเยี่ยม เพื่อกำหนดรูปแบบโครงสร้างสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เหมาะสมกับประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า การจัดตั้งสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของประเทศไทยที่ได้รับอิทธิพลมาจากการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศฝรั่งเศส แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกับประเทศฝรั่งเศสและประเทศอื่นๆ อันเนื่องมาจากภูมิหลัง ประวัติความเป็นมาของการจัดตั้งองค์กร ซึ่งพบว่าองค์กรสภาที่ปรึกษาในแถบประเทศยุโรป ได้เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มของผู้ใช้แรงงานในการต่อรองเรียกร้องความเป็นธรรมเกี่ยวกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ จนขยายตัวเป็นสภาที่เป็นตัวแทนของสาขาอาชีพทางด้านเศรษฐกิจและสังคมที่มีฐานะเป็นองค์กรภาคประชาสังคม ทำหน้าที่เสริมองค์กรรัฐสภาและวุฒิสภาซึ่งเป็นองค์กรทางการเมือง ขณะที่สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของประเทศไทย การดำเนินงานขององค์กรไม่ได้ประสบความสำเร็จ โดยมีสาเหตุสำคัญ คือ กระบวนการสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งสมาชิกที่ได้รับการคัดเลือกเข้ามาเป็นตัวแทนของกลุ่ม ไม่ได้เป็นตัวแทนที่สะท้อนเจตจำนงของกลุ่มอย่างแท้จริง ทำให้การดำเนินงานขององค์กรไม่เกิดประสิทธิผล จนมีคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 107/2558 ให้สมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ พ้นจากหน้าที่ ดังนั้น ผู้เขียนจึงมีความเห็นว่า ควรจัดตั้งสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในฐานะเป็นองค์กรภาคประชาสังคม และควรกำหนดรูปแบบการสรรหาสมาชิกเพื่อให้ได้ตัวแทนที่เป็นกลุ่มสาขาหลักทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างแท้จริง
การศึกษาการเชื่อมอาร์คทังสเตนก๊าซคลุมและการเชื่อมเลเซอร์ในโลหะผสมพิเศษเนื้อพื้นนิกเกิลชั้นคุณภาพจีทีดี-111 โดยใช้โลหะเติมอินโคเนล 625
งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาเพื่อลดปัญหาการแตกจากการเชื่อมในชิ้นงานที่ไม่มีการอบความร้อนเพื่อปรับปรุงโครงสร้างจุลภาคก่อนการเชื่อมซึ่งเป็นการลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการคืนสภาพวัสดุจีทีดี-111 ที่ได้รับความเสียหาย โดยให้ความสนใจกับการกำหนดค่าตัวแปรและพลังงานที่ใช้ในการเชื่อมที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดผลกระทบต่อโครงสร้างจุลภาคและการแตกหลังการเชื่อมและการอบความร้อนหลังการเชื่อมน้อยที่สุด งานวิจัยนี้ทำการทดลองเชื่อมจีทีดี-111 โดยใช้ลวดเชื่อมอินโคเนล 625 โดยกระบวนการเชื่อมอาร์คทังสเตนก๊าซคลุมที่พลังงานการเชื่อม 180, 198, 243, 297 และ 315 วัตต์ และการเชื่อมเลเซอร์ที่พลังงานการเชื่อม 195, 197, 236, 252 และ 295 วัตต์ หลังจากนั้นทำการอบความร้อนหลังการเชื่อมใน 2 ขั้นตอน โดยการอบละลายที่ 1200 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 2 ชั่วโมงและอบบ่มที่ 845 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 24 ชั่วโมง ผลการตรวจสอบโครงสร้างจุลภาคพบว่าชิ้นงานที่ผ่านการเชื่อมด้วยกระบวนการเชื่อมอาร์คทังสเตนก๊าซคลุมมีบริเวณกระทบร้อนที่ชัดเจนกว่าชิ้นงานที่ผ่านการเชื่อมด้วยกระบวนการเชื่อมเลเซอร์อย่างมาก นอกจากนั้นยังพบการเกิดอนุภาคแกมมาไพร์มขนาดเล็กขึ้นใหม่ในบริเวณรอยต่อของโลหะพื้นกับโลหะเติมในบางกรณีซึ่งเป็นผลจากปริมาณความร้อนที่ให้ระหว่างการเชื่อม ผลการศึกษารอยแตกในบริเวณรอยเชื่อมและบริเวณกระทบร้อนนั้นไม่พบการแตกตามขอบเกรนซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของการแตกจากการเชื่อมที่พบในงานวิจัยอื่นทั้งในชิ้นงานหลังการเชื่อมและชิ้นงานที่ผ่านกระบวนการอบความร้อนหลังการเชื่อม อย่างไรก็ตามพบการแตกของบริเวณรอยต่อเนื้อพื้นกับโลหะเติมในชิ้นงานเลเซอร์ที่ใช้พลังงานการเชื่อม 236 วัตต์ และการแตกที่ตะกอนคาร์ไบด์ที่อยู่ใกล้รอยเชื่อมในการเชื่อมอาร์คทังสเตนก๊าซคลุมที่พลังงาน 243 และ 315 วัตต์ ซึ่งคาดว่าเป็นผลจากการหดตัวเฉพาะที่ระหว่างการเชื่อม
ระบบการจองการจัดส่งด้วยรถบรรทุก
การวิจัยวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการจองรถขนส่งสินค้า โดยกรณีศึกษาเป็นบริษัทผู้ผลิตสินค้าเฟอร์นิเจอร์ที่ให้ลูกค้าสั่งซื้อและจองเวลาการจัดส่งสินค้าตามสาขาในกรุงเทพและปริมณฑลของบริษัท ซึ่งในแต่ละว้นจะมีการจองการจัดส่งสินค้าในแก่ลูกค้าประมาณ 400 ราย ระบบการจองการจัดส่งที่พัฒนาขึ้น เป็นระบบตัดสินใจในการรับและจัดการคำสั่งซื้อของลูกค้า ประกอบด้วย 2 กระบวนการ คือ 1) กระบวนการรับจองการจัดส่งตั้งต้น เป็นการตัดสินใจรับคำสั่งซื้อของลูกค้า ตามลำดับการเข้ามาของคำสั่งซื้อ ภายใต้ข้อจำกัดของจำนวนรถบรรทุก เวลาการจัดส่งสินค้า เวลาการติดตั้งสินค้า และความจุของรถบรรทุก โดยในการรับจองคำสั่งซื้อแต่ละครั้งนั้น ระบบจะคาดการณ์ถึงผลกระทบที่จะเกิดโอกาสในการให้บริการแก่ลูกค้าที่จะเข้ามาในอนาคต เพื่อสามารถให้บริการลูกค้าได้มากที่สุดในจำนวนรถที่จำกัด และ 2) กระบวนการสลับคำสั่งซื้อที่จัดให้กับรถขนส่ง เป็นการสลับการจัดคำสั่งซื้อที่รับจองไปยังรถที่พร้อมให้บริการ ภายใต้เงื่อนไขเวลาในการจัดส่งลูกค้าที่ได้รับจองในแต่ละวันตามผลลัพธ์ที่ได้จากกระบวนการแรกแล้ว เพื่อลดเวลาในวิ่งรอบรถขนส่งทั้งหมด ซึ่งการลดเวลาในการขนส่งจะช่วยลดต้นทุนในการขนส่ง การศึกษาได้นำแบบจำลองที่ได้พัฒนาขึ้นไปทดสอบกับข้อมูลการจัดส่งที่รวบรวมในช่วงเวลา 10 วัน รวมทั้งหมดเป็น 30 สถานการณ์ของการจัดส่ง เมื่อเปรียบเทียบผลที่ได้จากแบบจำลองกับการจองที่เกิดขึ้นจริงซึ่งจัดโดยพนักงาน พบว่า การจัดรถด้วยกระบวนการแรกของโปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถลดจำนวนรถบรรทุกที่ใช้ในการจัดส่งเฉลี่ยได้ประมาณร้อยละ 16.3 ในขณะที่การสลับคำสั่งซื้อด้วยกระบวนการที่สอง ช่วยลดเวลาการจัดส่งลงได้ร้อยละ 3.3 จากผลการจัดรถจากกระบวนการแรก
การตรวจวัดสารประกอบเควอซิตินในน้ำผลไม้ด้วยขั้วไฟฟ้าต้นทุนต่ำของกราไฟต์ไส้ดินสอที่ดัดแปรด้วยกราฟีนออกไซด์
วารสารวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 15, 2, 41-50
การประเมินความเสี่ยงต่อความแห้งแล้งเชิงเกษตรกรรมในพื้นที่ลุ่มน้ำลำตะคอง
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความแห้งแล้งเชิงเกษตรกรรมในพื้นที่ลุ่มน้ำลำตะคอง โดยประยุกต์ใช้สารสนเทศภูมิศาสตร์ร่วมกับหลักการ Analysis Hierarchy Process (AHP) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยหลักที่มีผลต่อความเสี่ยงในการเกิดความแห้งแล้ง 3 กลุ่มปัจจัยหลัก ได้แก่ ปัจจัยสภาพภูมิอากาศ ปัจจัยทรัพยากรดิน ปัจจัยการใช้ประโยชน์ที่ดิน และปัจจัยรองจำนวน 10 ปัจจัย เพื่อประเมินระดับความเสี่ยงและพื้นที่เสี่ยงของความแห้งแล้งเชิงเกษตรกรรมในพื้นที่ลุ่มน้ำลำตะคอง อันนำไปสู่การกำหนดมาตรการในการป้องกันและแก้ไขอย่างมีรูปธรรมมากขึ้น ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ลุ่มน้ำลำตะคองมีการใช้ประโยชน์ที่ดินส่วนใหญ่ (ร้อยละ 64.02) เพื่อการเกษตรกรรม รองลงมา คือ พื้นที่ป่าไม้ (ร้อยละ 18.24) พื้นที่อาคารบ้านเรือน (ร้อยละ 11.26) พื้นที่เปิดหน้าดิน (ร้อยละ 4.93) พื้นที่แหล่งน้ำ (ร้อยละ 1.56) ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความเสี่ยงต่อความแห้งแล้งเชิงเกษตรกรรมในพื้นที่ลุ่มน้ำลำตะคองด้วยเทคนิค Analysis Hierarchy Process (AHP) พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดความแห้งแล้งในลุ่มน้ำลำตะคองในลำดับแรก คือปัจจัยปริมาณน้ำฝน รองลงมาคือปัจจัยการใช้ประโยชน์ที่ดิน ปัจจัยลักษณะเนื้อดิน ปัจจัยจำนวนวันที่ฝนตก ปัจจัยระยะห่างจากแหล่งชลประทาน ปัจจัยความหนาแน่นของลำน้ำ ปัจจัยการระบายน้ำของดิน ปัจจัยความอุดมสมบูรณ์ของดิน ปัจจัยความสูงของพื้นที่ และปัจจัยความลาดชัน ตามลำดับ โดยปัจจัยปริมาณน้ำฝน (w = 0.67 ) เป็นปัจจัยสภาพภูมิอากาศที่มีความสำคัญต่อการเกิดความแห้งแล้งมากที่สุด ในขณะที่ปัจจัยลักษณะเนื้อดิน (w = 0.34) เป็นปัจจัยทรัพยากรดินที่มีผลต่อความแห้งแล้งสูงสุด และปัจจัยการใช้ประโยชน์ที่ดิน (w = 0.44) เป็นปัจจัยการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีผลต่อการเกิดความแห้งแล้งสูงที่สุด โดยผลการวิเคราะห์การเกาะกลุ่มของปัจจัย (clustering analysis)...
รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินและการเดินทางเข้าถึงสถานีของผู้อยู่อาศัยในอาคารชุดรอบสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส
งานวิจัยชิ้นนี้ศึกษารูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินและการเดินทางเข้าถึงสถานีของผู้อยู่อาศัยในอาคารชุดรอบสถานีบีทีเอส มีคำถามการวิจัย คือ ประชากรที่อาศัยในอาคารชุดราคาสูงมีรูปแบบการเข้าถึงสถานีรถฟ้าต่างกับผู้ที่อาศัยอยู่ในอาคารชุดราคาทั่วไปหรือไม่อย่างไร โดยมีสมมติฐานหลักว่า ประชากรที่อาศัยในอาคารชุดราคาสูงมีรูปแบบการเข้าถึงสถานีรถฟ้าที่แตกต่างกับผู้ที่อาศัยอยู่ในอาคารชุดราคาทั่วไปทั้งระยะทางและรูปแบบการเข้าถึง และสมมติฐานรอง คือ ระยะทางมีความสัมพันธ์กับตำแหน่งที่ตั้งของรูปแบบและราคาของอาคารชุด โดยกลุ่มประชากรเป้าหมาย คือประชากรที่อยู่อาศัยในคอนโดมิเนียมรอบสถานี มีขอบเขตการวิจัยคือศึกษารูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินรอบสถานี และพฤติกรรมการเดินทางของประชากรในคอนโดมิเนียม เครื่องมือการทำวิจัย คือ ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินรอบสถานี และการสำรวจพฤติกรรมโดยใช้เวลาเร่งรีบช่วงเช้า (7.00 – 8.59 น.)เป็นตัวชี้วัดอันเนื่องมาจากเป็นเวลาที่กลุ่มประชากรเป้าหมายเดินทางเพื่อนเข้าสู่แห่ลงงาน ผลการศึกษาการวิเคราะห์ข้อมูลรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินตามฐานนิยมของพื้นที่เพื่อระบุการใช้งานและนำไปเลือกพื้นที่การสำรวจที่เป็นย่านพักอาศัยโดยรอบสถานีเพื่อไปสำรวจพฤติกรรมการเดินทางจึงนำมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ทางสถิติในรูปแบบที่ตั้งและการเดินทางของอาคารชุดราคาสูงและราคาทั่วไป พบว่า รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินรอบสถานีจากสถานีที่เกิดขึ้นช่วงแรก 23 สถานี สามารถจำแนกการใช้งานได้ 6 ประเภท คือ 1) รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินรอบสถานีแบบพื้นที่พักอาศัย 8 สถานี 2) รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินรอบสถานีแบบพื้นที่พาณิชยกรรม 2 สถานี 3) รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินรอบสถานีแบบพื้นที่ราชการหรืออำนวยความสะดวก 1 สถานี 4) รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินรอบสถานีที่แบบพักอาศัยกึ่งพาณิชยกรรม 6 สถานี 5) รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินรอบสถานีแบบพื้นที่ราชการกึ่งพาณิชยกรรม 5 สถานี 6)รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินรอบสถานีแบบพักอาศัยผสมกับพื้นที่ราชการ 1 สถานี และรูปแบบที่ตั้งของอาคารชุดกับราคามีความสัมพันธ์ตรงกันข้ามทำให้ทราบว่ารูปแบบอาคารชุดราคาทั่วไปจะมีที่ตั้งที่มีระยะทางมากกว่าอาคารชุดราคาสูง และรูปแบบการเดินทางที่เกิดขึ้นอาคารชุดราคาสูงมีสัดส่วนในการเดินเท้าเข้าสู่สถานีที่มากกว่าอาคารชุดราคาทั่วไป และในอาคารชุดราคาทั่วไปจะมีการเลือกเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวและรถแท็กซี่ใครสัดส่วนที่มากกว่าอาคารชุดที่อยู่ใกล้บีทีเอส งานวิจัยมีการเสนอแนะมาตรการการพัฒนาพื้นที่จอดแล้วจร (Park and ride) หรือการส่งเสริมโครงสร้างสาธารณะเบาเข้าสู่ตัวสถานี และการพัฒนาศูนย์ชุมชนรองเพื่อเป็นปลายทางเชื่อมต่อขนส่งดังกล่าว เพื่อลดการเดินทางรถยนต์หรือบริการรับจ้างภายในพื้นที่รอบสถานี และทำให้เกิดการใช้งานพื้นที่โดยรอสถานีรถไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต
มิติศักดิ์สิทธิ์ในสถาปัตยกรรมทางศาสนา: กรณีศึกษาวัดคาทอลิกที่มีลักษณะของการนำความเชื่อเข้าสู่วัฒนธรรมในประเทศไทย
การศึกษาเพื่อทำความเข้าใจ มิติศักดิ์สิทธิ์ที่ปรากฏในสถาปัตยกรรมทางศาสนา โดยเริ่มต้นศึกษาจากนิยาม ความหมาย และองค์ประกอบของความศักดิ์สิทธิ์ ก่อนจะนำไปสู่ระเบียบวิธีการศึกษาที่ประกอบด้วย 1.ความหมายของการดำรงอยู่ของจักรวาลและมนุษย์ในจักรวาลที่ถูกเผยแสดงผ่านระบบสัญลักษณ์ในตำนานระดับต้นแบบ (Archetype) ซึ่งเป็นที่มาของการเกิดมิติศักดิ์สิทธิ์ 2.ความศักดิ์สิทธิ์ในฐานะองค์ประกอบด้านอารมณ์ความรู้สึกที่นำไปสู่สุนทรียภาพในเชิงศิลปะ-สถาปัตยกรรม 3.ระเบียบวิธีการศึกษาสถาปัตยกรรมทางศาสนา ผ่านมุมมองเชิงปรากฏการณ์ศาสตร์ ซึ่งจะช่วยทำให้เห็นถึงการเกิดขึ้นของมิติศักดิ์สิทธิ์ผ่านองค์ประกอบ 3 ประการอันได้แก่ จุดศูนย์กลางแห่งความศักดิ์สิทธิ์ เส้นทางแห่งความศักดิ์สิทธิ์ ปริมณฑลและจุดแบ่งแยกพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ก่อนที่สุดท้ายจะสร้างเป็น "ทฤษฎีการเปลี่ยนสภาวะจิตเข้าสู่ความศักดิ์สิทธิ์" (Theory of Spiritual Transformation toward Sacredness) และนำทฤษฎีดังกล่าวมาวิเคราะห์กรณีศึกษาวัดคาทอลิกที่มีลักษณะการนำความเชื่อเข้าสู่วัฒนธรรมในประเทศไทย ซึ่งแสดงให้เห็นถึง ความเป็นบริบทของท้องถิ่น ที่เข้ามาช่วยสร้างรูปทรงทางกายภาพที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตัวในแต่ละกรณีศึกษา จนนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่าการศึกษามิติศักดิ์สิทธิ์ในสถาปัตยกรรมทางศาสนา ควรจะต้องวิเคราะห์ผ่านการทฤษฎีการเปลี่ยนสภาวะจิต และการสร้างรูปของความเป็นบริบทท้องถิ่น ซึ่งช่วยแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบสถาปัตยกรรมและการเกิดขึ้นของมิติศักดิ์สิทธิ์ (ที่มีสภาวะเป็นนามธรรม) ได้อย่างชัดเจนและมีระบบระเบียบ และน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา วิจัย ออกแบบ ปรับปรุง สถาปัตยกรรมทางศาสนาต่อไปในภายภาคหน้า
ประสิทธิภาพการดำเนินงานทางการเงินของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ขนาดเล็กและขนาดกลางที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร
วิสาหกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (Small and Medium Enterprises : SMEs) นับเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยที่รัฐบาลมีนโยบายให้การสนับสนุนตลอดมา ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขนาดเล็กและขนาดกลางเป็น SME ประเภทหนึ่งที่มีการดำเนินงานมานานและสร้างมูลค่าทางธุรกิจค่อนข้างสูง งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาลักษณะการประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ SMEs และประสิทธิภาพการดำเนินงานทางการเงิน โดยเลือกศึกษาบริษัทอสังหาริมทรัพย์กลุ่ม SMEs ที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 594 บริษัท เก็บข้อมูลงบการเงิน ณ ปี 2557 จากฐานข้อมูลบริษัท บิซิเนส ออนไลน์ จำกัด(มหาชน) แบ่งเป็นบริษัทขนาดเล็กจำนวน 400 บริษัท และขนาดกลางจำนวน 194 บริษัท วิเคราะห์ข้อมูลลักษณะธุรกิจและประสิทธิภาพการดำเนินงานทางการเงินโดยใช้อัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratio) ผลการศึกษาพบว่า 1) บริษัทอสังหาริมทรัพย์ SMEs ส่วนใหญ่ร้อยละ 49.83 ดำเนินธุรกิจประเภทการเช่าที่ไม่ใช่เพื่อการพักอาศัยหรือดำเนินธุรกิจที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ของตนเอง รองลงมาร้อยละ 31.82 ดำเนินธุรกิจประเภท การซื้อและการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นของตนเองที่ไม่ใช่ที่พักอาศัย บริษัทส่วนใหญ่ มีระยะเวลาดำเนินการกิจการระหว่าง ช่วง5-15 ปี และ ช่วง21-30 ปี บริษัทอสังหาริมทรัพย์ SME ส่วนใหญ่มีทุนจดทะเบียนประมาณ 30 ล้านบาท 2)บริษัทที่ผลดำเนินการกำไร มีอัตรากำไรสุทธิอยู่ที่ร้อยละ 17-22 มีอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) ร้อยละ 3-5 และอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) ร้อยละ 11-19 โดยมีอัตราส่วนเงินกู้เงินต่อเงินส่วนเจ้าของประมาณ 3:1 ทั้งนี้ สภาพคล่องของบริษัทขนาดเล็กมีสูงถึง...
ผลของการฝึกเสริมด้วยการฝึกความอดทนทางอนากาศนิยมระยะสั้นที่มีต่อความสามารถที่แสดงออกทางอนากาศนิยมและความสามารถในการว่ายน้ำในท่าฟรอนท์ครอว์ลระยะ 50 เมตร
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการฝึกเสริมด้วยการฝึกความอดทนทางอนากาศนิยมระยะสั้นที่มีต่อสมรรถภาพเชิงอนากาศนิยมและความสามารถในการว่ายน้ำในท่าฟรอนท์คลอว์ลระยะ 50 เมตร วิธีการดำเนินงานวิจัย นักว่ายน้ำจากชมรมว่ายน้ำโรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ปทุมวัน จำนวน 12 คน อายุเฉลี่ย 16 ปี ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมงานวิจัยโดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการฝึกเสริมด้วยการฝึกความอดทนทางอนากาศนิยมระยะสั้น โดยว่ายน้ำด้วยความเร็วสูงสุดในเครื่องอุโมงค์น้ำจำนวน 10 รอบ รอบละ 15 วินาที โดยพักระหว่างรอบ 3 นาที ทำการฝึก 2 ครั้งต่อสัปดาห์เป็นเวลา 8 สัปดาห์ร่วมกับการฝึกปกติ และกลุ่มควบคุมซึ่งฝึกปกติเพียงอย่างเดียวกลุ่มละ 6 คน เวลาสถิติดีสุดในการว่ายน้ำ เวลาสถิติเฉลี่ยในการว่ายน้ำ กำลังแบบอนากาศนิยมและความสามารถสูงสุดแบบอนากาศนิยมของกลุ่มตัวอย่างทั้งก่อนและหลังการทดลองได้ถูกบันทึกและวิเคราะห์ทางสถิติหาค่าความแตกต่างระหว่างกลุ่ม และภายในกลุ่มที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัย เมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังเข้ารับการฝึกเสริม ผู้เข้าร่วมการวิจัยในกลุ่มทดลองมีเวลาสถิติดีสุดในการว่ายน้ำลดลง และมีกำลังแบบอนากาศนิยมเพิ่มขึ้น แต่เวลาสถิติเฉลี่ยในการว่ายน้ำและความสามารถสูงสุดแบบอนากาศนิยม ไม่เปลี่ยนแปลง ในขณะที่กลุ่มควบคุมไม่พบความเปลี่ยนแปลงใดๆอย่างมีนัยสำคัญ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ไม่พบการเปลี่ยนแปลงใดๆอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน สรุปผลการวิจัย โปรแกรมการฝึกเสริมด้วยการฝึกความอดทนทางอนากาศนิยมสามารถพัฒนาเวลาสถิติดีสุดและกำลังแบบอนากาศนิยมได้ แต่ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดการพัฒนาความสามารถในการว่ายน้ำในท่าฟรอนท์ครอว์ลระยะ 50 เมตร อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับการฝึกตามปกติ
การประเมินผลประโยชน์จากการจัดทำระบบการจัดการพลังงานในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดทำระบบการจัดการพลังงานที่เป็นที่รู้จักคือผลประหยัดจากการลดใช้พลังงาน ผลประโยชน์อื่นๆที่องค์กรได้รับจากการจัดทำระบบการจัดการพลังงานมีการรวบรวมและวิเคราะห์น้อยมาก วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการรวมรวมและวิเคราะห์จากมุมมองนักวิจัยอิสระ ไม่ขึ้นกับองค์กรหรือภาครัฐผ่านแบบสำรวจและการสัมภาษณ์ โดยได้ทำการส่งแบบสอบถามไปยังโรงงานกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มในนิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร ด้วยเหตุผลว่ามีกลุ่มโรงงานอาหารและเครื่องดื่มจำนวนมากที่สุดเมื่อเทียบกับนิคมอุตสาหกรรมอื่นๆจากบันทึกของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึงตอบรับจำนวน 25 โรงงานจากทั้งหมด 31 โรงงาน ผลการสำรวจพบว่าไม่ใช่ผลประหยัดด้านพลังงานที่ลดลงจะเป็นผลประโยชน์ที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด กลุ่มตัวอย่างกล่าวถึง ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการพลังงานมากถึง 27% ตามมาด้วยความตระหนักในการอนุรักษ์พลังงาน25% ผลประหยัดด้านพลังงาน 23% การลดต้นทุนด้านพลังงาน 11% การประชาสัมพันธ์และภาพลักษณ์องค์กร 7% การดูแลสิ่งแวดล้อม 5% และ การจัดการด้านการฝึกอบรม 2% เหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองและความสำคัญที่องค์กรให้กับระบบการจัดการพลังงาน หากมีหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชนต้องการสนับสนุนให้เกิดการจัดทำระบบการจัดการพลังงานสามารถสร้างแรงจูงใจจากผลประโยชน์เหล่านี้ได้เพิ่มเติม ไม่จำเป็นต้องส่งเสริมโดยผ่านมาตรการเพื่อลดการใช้พลังงานเพียงอย่างเดียว
การปนเปื้อนโลหะหนักในแหล่งน้ำและสัตว์น้ำบริเวณพื้นที่เหมืองแร่ทองคำ
งานวิจัยนี้ได้ศึกษาปริมาณ As Hg Pb Mn Ni Cu Zn และ Cd ในน้ำ ตะกอนดิน และสัตว์น้ำ บริเวณพื้นที่เหมืองแร่ทองคำ จังหวัดพิจิตร เพื่อประเมินความเสี่ยงจากการรับสัมผัสโลหะหนักผ่านทางการบริโภคสัตว์น้ำ โดยเก็บตัวอย่างภายในพื้นที่เหมือง 3 ครั้ง ในเดือนสิงหาคม 2558 พฤศจิกายน 2558 และกุมภาพันธ์ 2559 และเก็บตัวอย่างภายนอกพื้นที่ในเหมืองเดือนพฤศจิกายน 2559 โดยทำการวิเคราะห์ปริมาณ Pb Mn Ni Cu Zn และ Cd ในตัวอย่างด้วยเทคนิค Inductively coupled plasma optical emission spectroscopy และวิเคราะห์ปริมาณ As และ Hg ด้วยเทคนิค Atomic absorption spectrophotometry ผลการศึกษาพบว่าตัวอย่างน้ำผิวดินในพื้นที่เหมืองมีปริมาณ As Hg Pb Ni Cu Zn และ Cd ต่ำกว่ามาตรฐานน้ำแหล่งน้ำผิวดินกำหนด และมีปริมาณ Mn อยู่ในช่วง 0.0055-2.079 มก./ล. ซึ่งบางตัวอย่างมีค่าสูงกว่ามาตรฐานน้ำแหล่งน้ำผิวดินกำหนด และตัวอย่างตะกอนดินในพื้นที่เหมืองมีปริมาณ As Pb Zn และ Cd ต่ำกว่ามาตรฐานคุณภาพของตะกอนดินในแหล่งน้ำกำหนด และมีปริมาณ Ni...
แนวทางการจัดการการใช้พื้นที่ด้วยการบูรณาการข้อมูลภูมิสารสนเทศกับกระบวนการมีส่วนร่วมในอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ประเทศไทย
อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เป็นพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินหลากหลายประเภทและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วด้วยปัจจัยทางธรรมชาติ เศรษฐกิจและนโยบายภาครัฐ ส่งผลให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมขึ้น การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ในระบบและผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมจึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็น การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงบูรณาการ โดยเลือกพื้นที่ศึกษาได้แก่ ตำบลท่าหิน บ่อแดงและวัดจันทร์เนื่องจากมีกิจกรรมทางการเกษตรที่หลากหลายที่สุดในอำเภอสทิงพระ มีเป้าหมายเพื่อหาแนวทางการจัดการพื้นที่ด้วยการบูรณาการข้อมูลภูมิสารสนเทศ แบบจำลองเพื่อการเรียนรู้และกระบวนการมีส่วนร่วม การศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนหลัก ๆ ได้แก่ 1) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณพื้นที่ศึกษาในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2558) โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเชิงลึก 2) ศึกษาความรู้ความเข้าใจด้านสิ่งแวดล้อมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่ 3) สร้างและใช้แบบจำลองเชิงบูรณาการระบบนิเวศ-เศรษฐกิจ-สังคมและข้อมูลภูมิสารสนเทศอย่างมีส่วนร่วม เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์ต่าง ๆ ในระบบ และหาแนวทางการจัดการพื้นที่ ผลการศึกษาพบว่าในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา นาข้าวมีขนาดพื้นที่ลดลงมากที่สุด โดยถูกเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่หมู่บ้านและสวนไม้เศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสวนปาล์มน้ำมัน เนื่องจากมีโครงการสนับสนุนการปลูกปาล์มน้ำมันจากภาครัฐ นอกจากนี้ยังพบพื้นที่นาข้าวที่ถูกทิ้งร้าง โดยมีสาเหตุหลักมาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะการลดลงของราคาข้าว ส่งผลให้เกษตรกรหลายรายตัดสินใจทิ้งที่นาไปประกอบอาชีพนอกหมู่บ้าน สำหรับความรู้ความเข้าใจด้านสิ่งแวดล้อมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องพบว่าร้อยละ 63.93 ยังขาดความรู้ความเข้าใจด้านสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและปัญหามลพิษทางน้ำ ผลการศึกษาได้นำมาใช้สร้างแบบจำลองเชิงบูรณาการในรูปแบบเกมและสถานการณ์จำลอง 3 รูปแบบ ได้แก่ การสร้างแผนที่ชุมชนอย่างมีส่วนร่วม เกมเศรษฐีสทิงพระ และเกมสร้างเมือง ผลการใช้แบบจำลองทั้ง 3 ประเภท สามารถทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้นบางคนได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาดูแลสิ่งแวดล้อม และได้มีข้อเสนอแนะในการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน เช่น การส่งเสริมใช้ปุ๋ยอินทรีย์ การปรับปรุงคุณภาพดินในพื้นที่การเกษตร เป็นต้น
- ← Previous
- 1
- 2
- …
- 38
- 39
- 40
- Next →