ผลของการฝึกแบบพลัยโอเมตริกและแบบเอกเซนตริกต่อความแข็งแกร่งของเอ็นร้อยหวายของนักวิ่งระยะไกลชาย
วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลของการฝึกระหว่างแบบพลัยโอเมตริกและแบบเอกเซนตริกที่มีต่อความแข็งแกร่งของเอ็นร้อยหวายของนักวิ่งระยะไกลชายวิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักวิ่งระยะไกลชายอายุ 18-30 ปี จำนวน 20 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มฝึกแบบพลัยโอเมตริกและเอกเซนตริก ทั้งสองกลุ่มทำการฝึก 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ทำการทดสอบค่าแรงสูงสุดการหดตัวของกล้ามเนื้อน่องขณะเกร็งอยู่กับที่ ระยะความยาวที่ยืดออกของเอ็นร้อยหวาย และค่าความแข็งแกร่งของเอ็นร้อยหวาย ก่อนและหลังการฝึก แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยกำหนดระดับความมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มที่ฝึกแบบพลัยโอเมตริกมีความแข็งแกร่งของเอ็นร้อยหวายเพิ่มขึ้นและระยะความยาวที่ยืดออกลดลงภายหลังการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่พบความแตกต่างของค่าแรงสูงสุดการหดตัวของกล้ามเนื้อขณะเกร็งอยู่กับที่ ขณะกลุ่มที่ฝึกแบบเอกเซนตริกมีค่าความแข็งแกร่งของเอ็นร้อยหวาย และแรงสูงสุดการหดตัวของกล้ามเนื้อขณะเกร็งอยู่กับที่เพิ่มขึ้น หลังการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่พบความแตกต่างของระยะความยาวที่ยืดออก อย่างไรก็ตามไม่พบความแตกต่างของค่าความแข็งแกร่งของเอ็นร้อยหวายทั้ง 2 กลุ่มสรุปผลการวิจัย การออกกำลังกายทั้งแบบพลัยโอเมตริกและแบบเอกเซนตริกสามารถช่วยพัฒนาความแข็งแกร่งของเอ็นร้อยหวายในนักวิ่งระยะไกลชายได้ไม่แตกต่างกัน ดังนั้นการออกกำลังกายทั้งสองรูปแบบสามารถนำไปใช้เสริมสร้างความแข็งแกร่งของเอ็นร้อยหวายในนักวิ่งะยะไกลได้
This data repository is not currently reporting usage information. For information on how your repository can submit usage information, please see
our documentation.