พฤติกรรมการใช้และความพึงพอใจต่อแอปพลิเคชันติ๊กต็อก (TikTok) ของผู้ใช้กลุ่ม generation Y ในกรุงเทพมหานคร

การศึกษาเรื่อง พฤติกรรมการใช้และความพึงพอใจต่อแอปพลิเคชันติ๊กต็อก (TikTok) ของผู้ใช้กลุ่ม Generation Y ในกรุงเทพมหานคร ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากร พฤติกรรมการใช้และความพึงพอใจต่อแอปพลิเคชันติ๊กต็อก (TikTok) ของผู้ใช้งาน โดยมุ่งเน้นทำความเข้าใจเรื่องความแตกต่างของลักษณะทางประชากร ที่ส่งผลต่อกับพฤติกรรมการใช้และความพึงพอใจ รวมถึงศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้กับความพึงพอใจต่อแอปพลิเคชันติ๊กต็อก (TikTok) ของผู้ใช้งานที่เป็นกลุ่ม Generation Y (มีอายุระหว่าง 20 – 39 ปี ที่อาศัยหรือทำงานอยู่ในกรุงเทพมหานคร และมีบัญชีแอปพลิเคชันติ๊กต็อก (TikTok) อย่างน้อย 1 บัญชีในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบสมัครใจ (Volunteer Sampling) เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามออนไลน์ จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติเชิงอนุมานผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ระดับการศึกษาปริญญาตรี และเป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันติ๊กต็อก (TikTok) ในแต่ละวันเป็นระยะเวลาต่ำกว่า 1 ชั่วโมง ซึ่งกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อแอปพลิเคชันติ๊กต็อก (TikTok) อยู่ในระดับมาก ทั้งในประเด็นด้านการรับรู้คุณภาพของแอปพลิเคชัน และประเด็นด้านการใช้ประโยชน์จากเเอปพลิเคชันติ๊กต็อก (TikTok)ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุแตกต่างกัน จะมีพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันติ๊กต็อก (TikTok) ด้านระยะเวลาในการใช้ แตกต่างกัน ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน จะมีความพึงพอใจต่อแอปพลิเคชันติ๊กต็อก (TikTok) ทั้งในด้านความพึงพอใจด้านการรับรู้คุณภาพของแอปพลิเคชัน และความพึงพอใจด้านการใช้ประโยชน์จากแอปพลิเคชันติ๊กต็อก (TikTok) แตกต่างกันทั้งยังพบว่า พฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันติ๊กต็อก (TikTok) ด้านระยะเวลาในการใช้ไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจต่อแอปพลิเคชันติ๊กต็อก (TikTok) ทั้งในด้านการรับรู้คุณภาพของแอปพลิเคชัน และด้านการใช้ประโยชน์จากแอปพลิเคชัน
This data repository is not currently reporting usage information. For information on how your repository can submit usage information, please see our documentation.